ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
มะปราง สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 16/07/2008 ตอบ: 72
|
ตอบ: 16/07/2008 2:34 pm ชื่อกระทู้: ขอคำสั่ง ตร.ที่สั่งการให้กวดขันจับกุมเลื่อยโซ่ยนต์ |
|
|
ขอความกรุณาจากท่านเทพธันเดอร์และผู้ทรงคุณวุฒิทุกๆท่าน
ในช่วงที่มีการประกาศใช้ พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ ๒๕๔๕ แล้ว แต่ยังไม่มีกฎกระทรวง
ตามาตรา ๔ ออกมาใช้บังคับนั้น
ท่านใดมีสำเนา หนังสือ หรือวิทยุ ของตร. ที่เคยสั่งการให้มีการกวดขันจับกุม
เลื่อยโซ่ยนต์ บ้างครับ ช่วยโพสต์ให้ด้วยครับ
โดยเฉพาะ "วิทยุ ตร. ด่วน ถึง ภาค 3 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2548" ที่แจ้งว่าการมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองเป็นความผิดและให้กวดขันจับกุม
และ ท่านผู้ใดมีหนังสือหารือของ ป่าไม้จังหวัดสิงห์บุรี หารือไปที่กรมป่าไม้
และกรมป่าไม้แจ้งยืนยันว่า ใบคำขอรับใบอนุญาต ขึ้นทะเบียนไม่ใช่ใบอนุญาต
การที่ให้บุคคลอื่นนำไปใช้เป็นความผิดให้กวดขันจับกุม
ผู้ใดมีเอกสารดังกล่าว ขอความกรุณาด้วยครับ
ขอบคุณครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 18/07/2008 12:58 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่องเสร็จที่ ๑๕๖/๒๕๔๙
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕
กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส ๑๖๑๐.๒/๑๓๕๒ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้) ได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ การซ่อมแซมเลื่อยโซ่ยนต์เป็นธุรกิจเพื่อสินจ้าง พ.ศ. .... และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ซึ่งในการพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ได้มีความเห็นเกี่ยวกับนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ว่ากรมป่าไม้จำต้องยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดขอบเขตความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป นั้น
กรมป่าไม้ได้พิจารณาดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) แล้ว แต่เนื่องจากเดิมกรมป่าไม้เข้าใจว่านิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ มีความชัดเจนแล้วโดยไม่จำต้องออกกฎกระทรวงกำหนดความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์อีก เว้นแต่กรณีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ให้เป็นเลื่อยโซ่ยนต์ด้วย กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการประกาศให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับดำเนินการแจ้งการมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๔ จึงมีปัญหาในทางปฏิบัติว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่กรมป่าไม้ได้รับแจ้งไว้ก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ได้พิจารณาข้อหารือของกรมป่าไม้ โดยรับฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) แล้ว เห็นว่า มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์และเพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ .ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับ มาตรา ๑๔[๑] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ จึงได้บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่กฎหมายใช้บังคับ มาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ โดยไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๔[๒] และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป แต่โดยที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาเกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับแล้ว ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ ตามบทนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓[๓] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ แต่อย่างใด จึงยังไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่จะนำมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๑๔ ได้ ดังนั้น การที่ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ มิได้มาขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่ามีความผิดตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ อย่างไรก็ตาม หากต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์แล้ว ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับก็ต้องมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ให้ถูกต้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับต่อไป
อนึ่ง การดำเนินการแจ้งการมีอยู่ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ ก่อนมีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ ตามบทนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับดังกล่าวแล้วข้างต้น
(ลงชื่อ) พรทิพย์ จาละ
(คุณพรทิพย์ จาละ)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
pong_911 สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2010 ตอบ: 38
|
ตอบ: 23/12/2010 11:44 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ขอบคุณครับ  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|