ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
newgood สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2009 ตอบ: 41
|
ตอบ: 07/10/2010 8:24 pm ชื่อกระทู้: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
คือตอนแรกพฤติกาณ์คาดว่าเป็นกรรโชก แต่ต่อมาจากการตรวจสอบของ ผกก และจากการให้การเพิ่มเติมของ ผู้เสียหาย ปรากฎว่าเป็นกรรโชก ซึ่งผมก็ได้ส่งตัวผู้ต้องหาไปฝากขังแล้ว และก็ได้ฝากขังในข้อหากกรรโชกทรัพย์ด้วย(นี่ก็ฝาก 2 ใกล้หมดแล้ว) ผมจะต้องทำไงต่อ รูปภาพ ตรวจสถานที่เกิดเหตุ แจ้งสิทธิ์ แผนที่เสร็จหมดแล้วแต่ระบุเป็น กรรโชกหมดเลย สอบปากคำผู้ต้องหาแล้วแต่พฤติการณ์เป็นกรรโชก ผมจะต้องทำอย่างไรต่อไปกับเอกสารทั้งหมดนี้ และกับตัวผู้ต้องหาคับ หรือต้องทำใหม่หมด ต้องแจ้งข้อกล่าวหาอย่างไร ที่ไหน คับจาก
พงส.ในเมือง(กล้วยทอด)
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เณรน้อย สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2010 ตอบ: 19
|
ตอบ: 07/10/2010 9:18 pm ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
โปรดอธิบายข้อหาใหม่ให้ฟังหน่อยซิ .... ข้อหาเดิม คือข้อหาใด พฤติการรณ์เป็นอย่างไร ข้อหาใหม่ที่ ผกก.ให้แจ้งคือข้อหาใด และพฤติการณ์เป็นอย่างไรครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
newgood สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 13/08/2009 ตอบ: 41
|
ตอบ: 07/10/2010 9:53 pm ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
ข้อหาเดิมคือกรรโชก แต่ ผกก ได้แทงมาว่าเป็นชิงทรัพย์ และให้เรียกผู้เสียหายมาสอบเพิ่มเติม พอมาให้การเพิ่มเติมดันมีพฤติการณ์ที่ผู้เสียหายได้ถูกผู้ต้องหา ดึงมือถือไปจากมือ ซึ่งในวันแรกที่มาให้การผู้เสียหายบอกว่าลืมบอกพฤติการณ์ดึงมือถือเพราะว่าตื่นเต้น เลยทำให้ผมตั้งข้องเป็นกรรโชก จนผกก ให้เรียกมาสอบใหม่เป็น ชิงทรัพย์นี่แหละคับ แล้วผมจะทำอย่างไรต่อไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ประธานชมรม สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 20/05/2010 ตอบ: 54
|
ตอบ: 07/10/2010 10:37 pm ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
ไปสอบสวนผู้ต้องหาเพิ่มเติมถึงข้อเท็จจริงที่พบใหม่ แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์จะให้การอย่างไร
ถือได้ว่ามีการสอบสวนมาแต่ต้นแล้ว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสอบสวนเสร็จก็ทำความเห็นทางคดีว่าผู้ต้องหามีความผิดฐานใด เห็นควรสั่งฟ้องในข้อหาใด ก็ว่ากันไป แล้วส่งสำนวนให้ พงอ.พิจารณามีความเห็นต่อไป |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เณรน้อย สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 04/07/2010 ตอบ: 19
|
ตอบ: 08/10/2010 3:17 am ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
โปรดดู ฎีกา ที่ 2103 / 2521 ครับ( จำได้สูตรไล่สายสั้น ๆ เมื่อ 10 ปีเศษ ของอาจารย์วินัย เลิศประเสริฐ เรียกเรื่องนี้ว่า ฎีกากรงนก ) และช่วยกันพิจารณาว่าความผิดดังกล่าวเป็นฐานใดครับ...ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย
ความเห็นของผู้ตอบกระทู้ ... จะพิจารณาด้วยความเห็นส่วนตัว หลักกฏหมาย มาตรา 337 และเทียบเคียงฎีกาดังกล่าว เมื่อการใช้กำลังของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นการกระทำต่อทรัพย์ ( ยื้อแย่งโทรศัพท์กัน ) มิได้ประทุษร้ายต่อร่างกายผู้เสียหายโดยตรง ยังน่าจะไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ครับ ความคิดเห็นของคุณนิว ฯ น่าจะถูกต้องแล้ว แต่อย่าไปเถียงท่าน ผกก.นะครับ อาจทำให้เสียหายต่ออาชีพและความเป็นอยู่ได้ ทางที่ดี ควรค่อย ๆ ชี้แจงให้ท่านเข้าใจ หรือหาคนทรงที่พูดกันรู้เรื่อง
ปัญหา... ขณะแย่งโทรศัพท์ ผู้ต้องหาได้ใช้กำลังจับมือ ดึงมือ หรือกระทำสิ่งใดอื่นต่อร่างกายผู้เสียหายอีกหรือไม่ ควรสอบสวนให้กระจ่าง เพราะข้อหาสองข้อหาดังกล่าว ความผิด โทษ ต่างกันราวฟ้ากับดินครับ เดี๋ยวจะโดยย้อนศร ตาม ป.วิ 134 วรรคสองครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เคียงเลตะวันออก ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 31/08/2010 ตอบ: 1999
|
ตอบ: 08/10/2010 9:05 am ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
...แม้ การใช้กำลังของผู้ต้องหา จะเป็นการกระทำต่อทรัพย์(ยื้อแย่งโทรศัพท์กัน) มิได้ประทุษร้ายต่อร่างกายผู้เสียหายโดยตรง แต่หากได้มีการพูดข่มขู่ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะได้รับอันตราย และผู้ต้องหาได้ดึงโทรศัพท์ไปจากมือผู้เสียหาย โดยที่ผู้เสียหายไม่กล้าที่จะขัดขืน เนื่องจากกลัวคำขู่...น่าจะเป็น"ชิงทรัพย์"
...ความผิดสำเร็จ ของ กรรโชก คือ ยอม ตามที่ถูกข่มขืนใจ ไม่ใช่ ยื่นให้...หากว่าเป็นการยื่นให้หรือถูกแย่งเอาไป เพราะถูกข่มขืนใจ จนกลัวว่าจะได้รับอันตรายเพราะคำขู่ ย่อมเป็น "ชิงทรัพย์" ชัวร์
...เป็นแค่ความคิดเห็นสวนตัว ครับ
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
นายแก่น สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 09/08/2010 ตอบ: 139
|
ตอบ: 08/10/2010 9:31 am ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
ไม่ต้องเครียด ปรึกษา รอง ผกก.สส.ฯ บอกว่า ผกก.เขาจะเอาข้อหา ชิงทรัพย์ ไปพบผู้ต้องหาแจ้งข้อกล่าวหา ใหม่ สรุปสำนวน สั่งไม่ฟ้องกรรโชก สั่งฟ้องชิงทรัพย์ แล้วส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาเอง ไม่ต้องซีเรียส แค่นี้ไม่ใช่ปัญหา  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 06/08/2009 ตอบ: 49
|
ตอบ: 08/10/2010 9:51 am ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
เห็นด้วยกับนายแก่น แต่กรรโชกน่าจะเป็นสับเซ็ตของชิงทรัพย์ จึงไม่น่าสั่งไม่ฟ้อง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Hiso31 แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 21/04/2008 ตอบ: 314
|
ตอบ: 08/10/2010 8:25 pm ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
อย่าลืม...ไปฝากขังครั้งต่อไป สำเนาทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม แนบท้ายคำร้องฝากขังต่อศาล และระบุรายละเอียดในคำร้องให้ชัดเจน เพื่อปรับระยะเวลาการฝากขังจากเดิม ๔ ฝาก เป็น ๗ ฝาก |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์ กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 19/07/2007 ตอบ: 916
|
ตอบ: 09/10/2010 11:01 pm ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
ชิงทรัพย์ กับ กรรโชกต่างกันตรงที่
ชิงทรัพย์ ต้องมีการขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในทันทีทันใด เช่น มึงเอาโทรศัพท์มาให้กูเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นโดน พร้อมกับมีกิริยาอาการเอามีดออกมาขู่แล้วใช้มืออีกข้างแย่งโทรศัพท์เอาไป
กรรโชก ข่มขู่ทำให้กลัว จนผู้ถูกขู่ยอมให้ทรัพย์สิน และไม่ถึงกับขู่ว่าจะทำร้ายในทันทีทันใด เช่น มึงเอาโทรศัพท์มาให้กูเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นพรุ่งนี้มึงเจอดีแน่ พร้อมกับแย่งโทรศัพท์เอาไป
ในทางบริหารงานของผู้กำกับต่างกันตรงที่ ความสำเร็จของการปราบปรามคดีอุกฉรรจ์กลุ่มที่ 1
เช่น ก่อนหน้านี้มีคดีฆ่า 1 คดีจับไม่ได้ สถิติคดีก็คือ เกิด 1 จับ 0 คือจับไม่ได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่พอเกิดคดีชิงทรัพย์แล้วจับได้อีกหนึ่งคดี สถิติคดีอุกฉกรรจ์จะกลายเป็น เกิด 2 จับ 1 คือจับได้แล้วห้าสิบเปอร์เซ้นต์ เห็นไหมแต้มแห่งความสำเร็จของการทำงานดีขึ้นแล้ว จากจับไม่ได้ร้อยเปอร์เซ้นต์ กลายเป็น จับไม่ได้เพียงห้าสิบเปอร์เซ็น ดีกว่าที่แรกเยอะเลย เป็นแบบนี้ก็เพราะวิธีคิดผลงานของตร.เขาทำงานกันแบบนี้ไง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
NangFa_ning สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2011 ตอบ: 18
|
ตอบ: 24/02/2011 9:33 am ชื่อกระทู้: Re: ทำยังไงต่อไปดีคับ(แจ้งข้อหาผิด) |
|
|
ตาม ป.วิอาญา ม.192 ว.3 ในกรณีที่ข้อแตกต่างเป็นเพียงรายละเอียด เช่นเกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทำให้เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|