ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
jackree_p สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 08/11/2009 ตอบ: 4
|
ตอบ: 13/11/2009 1:59 pm ชื่อกระทู้: เป็นชิงทรัพย์หรือไม่ |
|
|
กรณีรถยนต์เป็นชื่อของบริษัทไฟแน้นท์ โดยมีชื่อผู้ต้องหาเป็นผู้เช่าซื้อ แต่ผู้ใช้ประโยชน์และผ่อนชำระเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงปรากฎว่าผู้ต้องหาได้ถูกบริษัททวงถามค่าเช่าซื้อเนื่องจากผู้เสียหายขาดผ่อนชำระค่างวด ผู้ต้องหาจึงไปเอารถยนต์คืนโดยใช้กำลังเข้าแย่งและได้นำรถดังกล่าวไป อยากถามว่าเป็นชิงทรัพย์ได้หรือไม่ ขอเหตุผลด้วยครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
gameman9999 สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 22/09/2009 ตอบ: 190
|
ตอบ: 14/11/2009 9:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
"มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์ หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์............"
"มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยทุจริต ผู้นั้นกระทำผิดฐานลักทรัพย์....."
********ประเด็นเปรียบเทียบ เรื่อง ทรัพย์ของผู้อื่น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 303/2503 การซื้อขายกระบือนั้น เมื่อยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.สัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 มาตรา 14 และตาม ป.พ.พ. มาตรา456 กรรมสิทธิ์ในกระบือที่ขายจึงยังเป็นของผู้ขายอยู่ ผู้ขายเอากระบือนั้น มาจากผู้ซื้อเอาไปขายให้ผู้อื่นเสีย ยังไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1093/2507 โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกลวงโจทก์ ให้ทำสัญญาเช่าซื้อตัวถังรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อลงนามสัญญาเช่าซื้อและได้ต่อตัวถังรถยนต์นั้นขึ้น ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลักรถยนต์ดังกล่าวซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของตัวถังรถ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานลักทรัพย์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากัน เป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ ซึ่งตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้ออาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316 วรรคหลัง ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของตัวรถยนต์ จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปไม่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 650/2510 จำเลยนำสร้อยคอของตนไว้กับผู้เสียหาย เพื่อเอาเงินมาเล่นการพนัน แล้วจำเลยกระชากสร้อยเส้นนั้นไปจากคอผู้เสียหาย ไม่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ เพราะสร้อยเส้นนั้นเป็นของจำเลยเอง เมื่อไม่เป็นการลักทรัพย์ ก็ไม่อาจเป็นผิดฐานชิงทรัพย์ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2780/2537 โจทก์ร่วมตกลงขายทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 กรรมสิทธิ์จึงโอนไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสามนำเอาทรัพย์นั้นไปจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2478/2528 การกระทำที่เจ้าของรวม จะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลักมิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ในขณะที่ลัก หากแต่ทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของเจ้าของรวมคนอื่น และเอาไปจากการครอบครองของผู้นั้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2544 จำเลยขายรถยนต์และเครื่องนวดข้าวให้โจทก์ จำเลยกับพวกไปหาโจทก์ที่บ้าน แต่ไม่พบ แต่ได้บอกภริยาบุตร แล้วได้ยึดรถยนต์และเครื่องนวดข้าวกลับไปเก็บ เพราะโจทก์ยังชำระเงินส่วนที่เหลือไม่ครบ เป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้โดยพลการ มิได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเจตนาให้ใช้หนี้ หาได้มีเจตนาลักเอาไปโดยทุจริตไม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สบ๔อีสาน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ


เข้าร่วมเมื่อ: 24/02/2008 ตอบ: 5073
|
ตอบ: 15/11/2009 10:32 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
น่าจะเป็นเรื่อง ตั้งนอมิืนี เช่าซื้อแทน โดย ตนเองผ่อนชำระ แต่ไม่มีชื่อในสัญญเช่าซื้อ เป็นชื่อคนอื่น (ผตห.) คงได้ค่าจ้างทำสัญญาเช่าซื้อแทนคนอื่น เข้าข่ายทำนิติกรรมโดยแสดงเจตนาลวงได้เลยเหมือนกัน หากนำสืบกันลึกๆ เพราะต้องอาศัยคุณสมบัติของตัวคนผ่อนชำระกับเช่าซื้อต้องคนเดียวกัน เรื่องนี้ ผตห.ต้องมีคุณสมบัติที่เช่าซื้อได้ ผ่อนชำระได้ไม่มีปัญหา บริษัทไฟแนนซ์ฯ จึงเชื่อมั่นเข้าทำสัญญาด้วย หากรู้ภายหลัง อ้าว คุณไม่ได้ผ่อนหรอกรึ แต่บริษัทฯ ไม่เคยฟ้องเรื่องสัญญาโมฆะแน่ มีแต่ฟ้องผู้เช่าซื้อตามสัญญา ผู้ค้ำให้รับผิดไปตามกระบวนการ
....ตามกระทู้ ถามเรื่อง ลัก ชิง ก็ต้องบอกว่า ขาดเจตนาแต่แรก เพราะเขาต้องการเอารถเช่าซื้อ ที่เขามีชื่อเป็นชื่อผู้เช่้าซื้อ (ต้องตีความหลบเรื่องตัวการตัวแทนทางแพ่งออกไปก่อน) ไปคืนบริษัทเท่านั้น เขาทำไปเพื่อบำบัดปัดป้องไม่ให้เขาเอา และผู้ค้ำฯ หากมีจะต้องถูกฟ้องคดีแพ่ง อันเนื่องจากหลวมตัีว (หรือสมัครใจเพราะได้ค่าจ้างจากการเข้าทำสัญญา) งานนี้ ยังไงก็ไม่ผิด...แต่ ผู้เสียหายเสียอีก จะแจ้งความเท็จหรือไม่ เพราะหลักฐานทางแพ่งน่ะ ทนโท่อยู่แล้วว่า ผตห.เช่าซื้อ ก็ต้องมีสิทธิใช้รถสิครับ (ข้อเท็จจริง ผตห.ไม่ได้ใช้แต่แรก) หากจะเอาผิด ผตห.ก็ต้องนำสืบให้ชัดเรื่อง นอมินี ต้องให้การละเอียดกับ พงสฯ ที่รับแจ้งด้วยว่า ผู้เสียหาย คือ ตัวการที่แท้จริงในการใช้ ครอบครอง ผ่อนรถตั้งแต่ออกจากบริษัทฯ ส่วน ผตห.คือ นอมินี หรือ ตัวแทน ในการเข้าทำสัญญาเท่านั้น อย่างนี้ การครอบครอง การใช้ทรัพย์ การป้องกันสิทธิจึงจะเ็ป็นของ ผู้เสียหายที่ผ่อนชำระจริงแต่แรก....ก็จะงงอยู่กับ ประเด็น ตัวการ ตัวแทน ความรับผิดทางแพ่ง และทางอาญา อยู่กับการสอบสวนเบื้องแรกว่าตั้งรูปคดียังไงด้วยครับ...แต่ยังไงๆ ก็ยังขาดเจตนากระทำผิดอาญาอยู่วันยังค่ำครับ เพราะไม่ได้เอาของคนอื่นไปเพื่อตน (เป็นของตนเองตามสัญญาเช่าซื้อ) หรือ แม้จะเอาของตัวการไป ก็เพื่อส่งคืนบริษัท เพราะตัวการทำให้ตัวแทนเสียหายได้ จึงยึดนำส่งเสียเลย หมดเรื่องหมดราว รถยังเป็นกรรมสิทธิของบริษัทฯ อยู่ดีเพื่อปัดเป่าทุกข์ร้อนตัวเอง น่ะครับ....การบังคับใช้ กม.เรื่องแบบนี้ ต้องลึกซึ้งและให้ความเป็นธรรมอย่างไม่เอนเอียง ไม่เรียกรับ ปย.ใดๆ จากการรับแจ้งความด้วย ไม่งั้น ปชช.สุจริต จะเดือนร้อน ภาพลักษณ์เราจะตกต่ำ ติดลบลงไปเรื่อยๆ อีก จนถึงสะดือโลกนั่นแหละ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
jackree_p สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 08/11/2009 ตอบ: 4
|
ตอบ: 15/11/2009 3:24 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ขอบคุณมากครับ
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
มั่วไปเรื่อย บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 30/05/2014 1:37 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เช่าชื้อ กรรมสิทธิ์ไม่โอน กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าชื้อ สัญญาเช่าชื้อ ส่วนมากเมื่อ ผู้เช่าชื้อผิดสัญญา สัญญาเช่าชื้อเป็นอันเลิกกัน ผู้ให้เช่าย่อมเข้าไป ยึด หรือ ครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าได้ทันที โดยอาศัยมารรา ป พ พ 1336 ติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ไม่มีสิทธ์จะยึดถือนั้นเอง ประกอบกับข้อความตามสัญญาเช่าชื้อในแต่ละฉบับ
ต่อมาพิจารณาว่า มีความผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่ โดยมีชื่อผู้ต้องหาเป็นผู้เช่าซื้อ แต่ผู้ใช้ประโยชน์และผ่อนชำระเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงต้องนี้ต้องมาพิจารณาต่อ แต่ข้อเท็จจริงน้อยเกินไปขาด ข้อเท็จจริง การกระทำความผิดอาญา ที่จะต้องรับผิดนั้น นอกจากการกระทำแล้วยังต้องการเจตนาด้วย
1. ผู้เช่าชื้อรู้หรือไม่ว่า ผู้ใช้ประโยชน์ขาดการผ่อนจ่าย ถ้าไม่รู้ก็แสดงว่าอาจไม่มีเจตนาทุจริตคิดว่าบริษัทกระทำโดยไม่มีอำนาจกระทำได้
เมื่อข้อเท็จจริงกำหนดมาเพียงเท่านี้ผมเชื่อข้อเท็จจริง ก็ต้องเชื่อว่า ผู้เช่าชื้อมีเจตนาทุจริต คือการแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น เพราะฉะนั้น การที่ผู้เช่าชื้อใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อเอาทรัพย์นั้นไป ก็เป็นการขิงทรัพย์ เพราะใช้กำลังประทุษร้าย ประกอบกับ การเอารถนั้นไป เป็นการลักทรัพย์ และการที่รู้ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะยึดรถไว้ แต่ก็มีเจตนาจะเอาไว้เพื่อตนก็คือเจตนาทุจริต ก็เป็ชิงทรัพย์ ตามตำหรับ มั่วไปเรื่อย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|