Facebook Page สอบสวน 599 Twitter สอบสวน 599 Youtube สอบสวน 599 facebook group สอบสวน 599 เพิ่มเพื่อน

sobsuan.com :: ดูกระทู้ - สงสัยเรื่อง "ฟอกเงิน"
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สงสัยเรื่อง "ฟอกเงิน"
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ฟอกเงิน สตง.
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
คนขวางโลก
บุคคลทั่วไป





ตอบตอบ: 23/02/2008 10:51 am    ชื่อกระทู้: สงสัยเรื่อง "ฟอกเงิน" ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตามความเข้าใจของผมการ "ฟอกเงิน" คือการนำเงินที่ได้มาจากการ ทุจริต ผิดกฎหมายต่างๆ ได้มาแบบไม่มีที่มาที่ไป
มา"ฟอก" ให้เป็นเงินสะอาด โดยการกระทำใดๆ เช่น
ตั้งเป็นกิจการ ขึ้นมา แล้วตกแต่งบัญชีว่าได้รายได้ ได้ผลกำไรมาก ยอม เสียภาษี สูงๆ เพื่อเอาหลักฐานการเสียภาษีนั้นมาเป็นหลักฐานว่า เงินนั้น ได้มาถูกต้อง ใช่มั๊ยครับ

แล้วทีนี้มูลฐานความผิด ที่เป็นข้อหาฟอกเงินนั้น ผมไม่เห็นมีอันไหนเลยที่เป็นการ "ฟอกเงิน" เช่น ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธสงคราม บุกรุกที่สาธารณะ ทวงหนี้ ฮั๊วประมูล
ทำไมเรียกการทำผิดแบบนี้ว่า "ฟอกเงิน" ล่ะ
ผมเห็นด้วยที่มีการยึดทรัพย์ คนพวกนี้ แต่ไม่เห็นด้วยที่
ตั้งข้อหาว่า "ฟอกเงิน" น่าจะเรียกข้อหา " ภัยต่อประเทศ "
"ภัยต่อสังคม" อะไรพวกนี้ มากกว่า
แต่คนที่"ฟอกเงิน" จริงๆ เช่น นักการเมือง ที่รับสินบน
รับใต้โต๊ะมีคนละหลายร้อยหลายพันล้าน เค้าเปิดบริษัทห้างร้าน
ขึ้นมา แล้ว ตกแต่งบัญชี ยอมจ่ายภาษีสูงๆ กลับไม่โดนจับ
และไม่มีใครว่าอะไร
สรรพากรก็ยินดี เพราะจะได้จัดเก็บรายได้สูงๆ เป็นผลงาน
อย่างนี้ต่างหากเรียก "ฟอกเงิน"

ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
กลับไปข้างบน
คนเหนือโลก
บุคคลทั่วไป





ตอบตอบ: 23/02/2008 5:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความผิดมูลฐานต่าง ๆ ในตัวมันเองนั่นแหละเป็นความสกปรกเป็นความเลวร้าย และการกระทำอันสกปรกและเลวร้ายเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งเงินเมื่อได้เงินมาเงินนั้นก็ต้องสกปรกเป็นเงินที่เลวร้าย เพื่อไม่ให้คนร้ายนำเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่ชั่วมาใช้ในสังคมซึ่งจะนำผลเสียหายอันใหญ่หลวงมาสู่เศรฐกิจของประเทศ เพื่อหยุดยั้งเงินสกปรกจึงได้ออกกฎหมายมาเอาผิดกับคนฟอกเงิน

ทำไม่จึงตั้งขัอหาหรือฐานความผิดว่า "ฟอกเงิน" ผมว่ามันเห็นภาพและใกล้เคียงที่สุดกับการกระทำความผิดคือไม่ให้เอาเงินนี้ไปใช้ในตลาด ก็เมื่อมัน "ฟอกความผิดที่เป็นมูลฐานไม่ได้" แม้จะมีโทษส่วนหนึ่งตามกฎหมายนั้น ๆ แล้วก็ตาม เมื่อเป็นการจะสะกัดกั้นตัวเงินสกปรกไม่ออกไป จึงเอาผิดกับคนที่พยายามจะเอาเงินออกไปช้

ถ้าจะตั้งข้อหาว่า " เป็นภ้ยต่อสังคม " หรือ " เป็นภัยต่อประเทศ " หรือ " เป็นภัยต่อประชาคมโลก " (ปัจจุบันประเทศในโลกหลาย ๆ ประเทศถือว่าการฟอกเงินเป็นอาชญากรรมร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก) มันก็กว้างเกินไปไม่รัดกุม เพราะกฎหมายฟอกเงินก็เป็นหนึ่งในกฎหมายอีกหลาย ๆ ฉบับที่ออกมาเพื่อ ป้องกันภัยต่อสังคมต่อประเทศหรือแม่แต่ต่อโลกนั้นเอง

เพื่อประกอบการสนทนาผมก็ไปหาข้อมูล(จากเว็ปไซต์) นี้แหละมาประกอบเกี่ยวกับการทำความเข้าใจกับกฎหมายฟอกเงินมาให้อ่านกันไปพราง ๆ ก่อน โดยเฉพาะการกระทำอย่างไรที่เรียกว่าการฟอกเงิน ส่วนการจะคิดนอกกรอบต่อยอดไปประการใดก็ค่อยว่ากันไป
เชิญอ่าน


การฟอก (Laundry) โดยทั่วไปหมายความว่า ทำให้สะอาด หรือ ทำให้หมดมลทินซึ่งมีความหมายในแง่ดี แต่ “การฟอกเงิน” (Money Laundering) เป็นการกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ

ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดให้ดูเสมือนว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้ “เงินสกปรก” หรือเงินที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้มาจากการกระทำความผิดให้ดูเหมือนเป็น “เงินสะอาด” เพื่อสามารถนำเงินที่ถูกฟอกไปใช้ในการกระทำความผิดอาญาต่อไป

ในปัจจุบันประเทศทั่วโลกถือว่าการฟอกเงินเป็นความผิดทางอาญาที่ร้ายแรงการฟอกเงินมักจะเกี่ยวเนื่องกับอาชญากรรมร้ายแรง ซึ่งกระทำโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร โดยมีลักษณะข้ามเขตข้ามพรมแดนประเทศและยากแก่การปราบปราม ผลของการฟอกเงินส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองปัจจุบันทั่วโลกจึงถือว่า การฟอกเงินเป็นความผิดอาญาที่ร้ายแรง

อาชญากรฟอกเงินกันอย่างไร?

การฟอกเงินอาจกระทำได้โดย ใช้รูปแบบและวิธีการต่างๆ ตั้งแต่วิธีการดั้งเดิม เช่น นำเงินสกปรกไปใส่ตุ่มฝังดิน หรือ ซ่อนในกำแพงหรือในถ้ำ จนกระทั่งถึง วิธีการที่ทันสมัยขึ้น เช่นนำเงินสกปรกไปให้บุคคลอื่น นำเงินฝากหรือโอนผ่านธนาคาร หรือเปิดบริษัทขึ้นเพื่อนำเงินเข้าสู่ระบบการเงินของบริษัท ดังตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง 1: มิจฉาชีพ ก ไม่มีอาชีพสุจริตอื่น ได้เงินจากการขายยาเสพติดมา 2 ล้านบาทนำเงิน 1 ล้านบาทไปซื้อรถยนต์ และอีก 1 ล้านบาท นำไปให้แก่ภรรยาและบุตร ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีพิรุธ ทั้งการซื้อรถยนต์และนำเงินไปให้ภรรยาและบุตรถือเป็นการฟอกเงิน

ตัวอย่าง 2 : มิจฉาชีพ ข นำเงินที่ได้มาจากการค้าหญิงและเด็ก ไปให้เพื่อนสนิททำธุรกิจเงินกู้ รวมทั้งเปิดบริษัทขึ้นบังหน้า หาทางเอาเงินสกปรกที่ได้มาเข้าสู่ระบบการเงินของบริษัทเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เชื่อว่าตนเองได้เงินมาจากการประกอบอาชีพโดยสุจริตทั้งการทำธุรกิจ เงินกู้และการตั้งกิจการขึ้นบังหน้า

การกระทำดังกล่าวถือเป็นการฟอกเงินผู้ร้ายอาจฟอกเงินโดยวิธีง่ายๆ ตามตัวอย่างแรก หรืออาจจะมีวิธีซับซ้อนขึ้นตามตัวอย่างหลัง หรืออาจจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดอาชญากรกระทำเพื่อปกปิดซ่อนเร้นและต้องการให้เงินสกปรกอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ไม่ให้ถูกตรวจสอบได้ว่าได้มาโดยมิชอบ เพื่อจะหาทางใช้ประโยชน์จากเงินสกปรกเหล่านั้น โดยสร้างภาพให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าได้เงินมาโดยชอบด้วยกฎหมาย

หลักการและสาระสำคัญของกฎหมายฟอกเงิน

การประกาศใช้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นการประกาศเจตนารมณ์ที่จะปราบปรามการฟอกเงินและดำเนินการกับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเกี่ยวกับการกระทผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สาระสำคัญของการฟอกเงินได้แก่

ความผิดอาญาฐานฟอกเงิน

กฎหมายนี้ได้ทำให้เกิดความผิดอาญาฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ฐานฟอกเงิน ซึ่งเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับ การกระทำความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังขณะการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ

(2) กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะ ที่แท้จริง การได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

ความผิดมูลฐาน

ความผิดฐานฟอกเงินต้องเป็นการกระทำต่อเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดเพียงบางประเภทเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ความผิดมูลฐาน ได้แก่

1. ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

2. ความผิดเกี่ยวกับเพศ (เช่น การค้าประเวณีหญิงและเด็ก)

3. ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน

4. ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือการฉ้อโกงทางธุรกิจในสถาบันการเงิน

5. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือ ในการยุติธรรม

6. ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชกหรือรีดทรัพย์

7. ความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร

8. ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

ผลกระทบของการฟอกเงิน

- บางท่านอาจจะคิดว่าการฟอกเงินไม่เกี่ยวข้องกับคนทั่วๆ ไปเลย และเป็นเรื่องของผู้ร้าย เช่น นักค้ายาเสพติด เจ้าพ่อผู้มีอิทธิพล หรือผู้ประกอบอาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ เท่านั้น

- ความจริงการฟอกเงิน ที่กระทำโดยองค์กรอาชญากรรมมีผลกระทบต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง เงินที่ฟอกจะถูกใช้ในการค้าขายยาเสพติด การก่อการร้าย การค้าอาวุธและประกอบอาชญากรรมอย่างอื่น หรือแม้แต่การทุจริต ติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือนักการเมือง ทำให้การแผ่ขยายอาณาจักรขององค์กรเหล่าร้าย เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและยากแก่การสกัดกั้นเป็นปัญหา ของประชาคมโลก

- ในทางเศรษฐศาสตร์เงินสกปรกที่นำมาในธุรกิจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และตัวเลขแสดงฐานะทางเศรษฐกิจที่บิดเบือนไม่ตรงความเป็นจริง เพราะมีการนำเงินสกปรกเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ทั้งที่เงินเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต หรือการสร้างงานที่ชอบด้วยกฏหมายขึ้นมาเลย

- นอกจากผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว การมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการฟอกเงิน ย่อมเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ เปรียบเสมือนปลาเน่าตัวเดียว ที่อาจทำให้เหม็นไปทั้งข้อง แม้ประเทศนั้นจะมีสิ่งดึงดูดใจทางวัฒนธรรม ประเพณี หรือแหล่งท่องเที่ยวมากมายก็ตาม
กลับไปข้างบน
บุคคลทั่วไป






ตอบตอบ: 10/09/2008 11:40 am    ชื่อกระทู้: Re: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ซึ้ง อยากทราบว่าการฟอกเงินมาจากไหน
กลับไปข้างบน
prince27
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 24/03/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 24/03/2010 11:07 am    ชื่อกระทู้: Re: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เจ้าหน้าที่ตำรวจ เห็นผู้ต้องสงสัยกดถอนเงินอย่างผิดปกติ จากตู้เอทีเอ็ม ทีแรกสงสัยว่า ขโมยบัตรมาถอน ตอนหลังสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มค้ายาเสพติด แต่ยังหาความเชื่อมโยงไม่ได้ เงินที่ยึดไว้แล้วในขณะนี้ จะใช้อำนาจตามกฎหมายใด ยึดไว้ต่อได้อีกหรือไม่ โดยขณะนี้ ยังหามูลฐานความผิดยังไม่เจอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
moom
สมาชิกใหม่


เข้าร่วมเมื่อ: 22/08/2011
ตอบ: 8

ตอบตอบ: 13/10/2011 2:50 pm    ชื่อกระทู้: ถามเรื่องฟอกเงินบ้าง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ข้าน้อยขอทราบหน่อยนึงว่า หากไปจับกุมคดีจำหน่ายยาเสพติด
รายหนึ่งแล้ว ได้ยึดเอาสมุดธนาคาร เงินสด ทอง เพ็ชร ทรัพย์สินอื่นๆ ราคาก็หลายบาท
(เป็นแสน) จะนำส่ง พงส.ให้ดำเนินคดีเช่นใดบ้าง ทั้งๆที่ทรัพย์สินที่ยึดมานั้น ไม่เกี่ยวกับคดี
ที่จับกุม แต่อยากให้ พงส. ดำเนินคดีตาม กฏหมายฟอกเงิน จะทำได้ทั๊ยครับ หรือมีวิธีการ
อย่างไรบ้าง ผิดพลาดไป ผลจะเป็นอย่างไรเนื่องจากเคยมีคำวินิจฉัยว่า ตำรวจไม่มีสิทธิยึด
ทรัพย์สินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีมา แต่นายอยากให้ยึด ขอคำตอบจากทุกท่านด้วยครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ฟอกเงิน สตง. ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group




เนติบัณฑิต | อาชีวะ | ภูผาหมอกเขาค้อ | เงินกู้ | สินเชื่อ

การสร้างหน้าเอกสาร: 0.10 วินาที