ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
พงส.เมืองเชียงราย บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 14/02/2009 5:25 pm ชื่อกระทู้: แบบนี้ พงส.เชียงราย มีอำนาจสอบสวนมั้ยครับ |
|
|
เรื่องมีอยู่ว่า ผู้เสียหายถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ โดยไปสมัครงาน จ่ายเงิน กับผู้ต้องหาที่ กทม. แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งผู้เสียหายกลับมาบ้านที่ เชียงราย ทำการโอนเงินส่วนหนึ่งจากธนาคารที่เชียงราย เข้าบัญชีธนาคารผู้ต้องหาที่ กทม. ต่อมารู้ตัวว่าถูกหลอกไปร้องทุกข์ที่สำนักงานจัดหางานเชียงราย ทางสำนักงานจัดหางานจึงมาแจ้งความที่ สภ.เมืองราย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองคนหางานฯ อยากทราบว่า พงส. เมืองเชียงราย มีอำนาจสอบสวนมั้ย โดยอ้างว่าเหตุเกิดที่ธนาคารในเชียงราย ผมไม่แน่ใจว่า กรณีการโอนเงินจากธนาคาร ที่เชียงราย จะอ้างธนาคารเป็นสถานที่เกิดเหตุ ได้หรือไม่ จะมีอำนาจสอบสวนในกรณีใด ตาม ป.วิ ม.18 หรือ 19 หรือไม่มีอำนาจสอบสวนเลย
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
SoOthersMayLive ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2008 ตอบ: 1119
|
ตอบ: 14/02/2009 7:09 pm ชื่อกระทู้: Re: แบบนี้ พงส.เชียงราย มีอำนาจสอบสวนมั้ยครับ |
|
|
มีการหลอกให้โอนเงินทางธนาคารหลายท้องที่ จนผู้กระทำผิดได้เงินไปจึง ผมคิดว่าเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องตาม ม.19 (3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
มีการโอนเงินได้ทรัพย์จากผู้เสียหายไป จึงเป็นความผิดสำเร็จแล้ว ต่อเนื่องมาจากการถูกเค้าหลอกที่ กทม. เมื่อกลับบ้านได้โอนเงินไปให้ (ผู้ต้องหาได้เงิน) ท้องที่ ธ.ตั้งอยู่ ดังนั้น พงส.ฯ ท้องที่ จว.เชียงรายพบการกระทำผิดก่อน จึงเป็น พงส.ผู้รับผิดชอบ
หากผิดพลาดประการใด ขออภัยรอท่านอื่นเสริม  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
ตอบ: 14/02/2009 8:32 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
พรบ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.๒๕๒๘
ม.๙๑ ตรี "ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ถึง ๑๐ ปี....."
องค์ประกอบคล้ายกับ ฉ้อโกง ตาม ปอ.ม.๓๔๑
จึงผิด ทั้ง พรบ.จัดหางานฯ กับ ปอ. ลงบทหนักตาม พรบ.จัดหางานฯ
ดังนั้นในความเห็นผม เห็นคล้ายกับท่าน SoOthersMayLive แต่ใจรัก ๑๙(๒) ส่วนหนึ่งในท้องที่หนึ่ง ไม่น่าใช่"ต่อเนื่อง" ด้วยความเคารพ
ถึงแม้จะเดินถนนคนละสาย แต่ก็ไปพบกันที่จุดหมายเดียวกัน คือเมืองเชียงรายนั่นแหละจ้า |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
โอยยยยย..... บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 15/02/2009 8:59 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ถูกต้องแล้ว พงส.เมือง ชร. มีอำนาจสอบสวน ตาม ป.วิ อ. ม.19(2)
ส่งฟ้องไปหลายคดีแล้ว
เห็นต่างนิดนึง
ผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ เท่านั้น เพราะเป็น กม.เฉพาะ
ถ้าจะอ้าง ป.อ.341 ไปด้วย ก็ไม่เป็นไร
แต่อัยการจะไม่อ้าง ป.อ. 341 ไปในคำฟ้อง
เพราะองค์ประกอบความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ มันมีข้อความชัดเจนในตัวอยู่แล้ว
จึงไม่ต้องนำ ป.อ. ซึ่งเป็น กม.หลักทั่วไป มาใช้บังคับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
SoOthersMayLive ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2008 ตอบ: 1119
|
ตอบ: 15/02/2009 9:37 am ชื่อกระทู้: |
|
|
เทพธันเดอร์นครปฐม บันทึก: | พรบ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.๒๕๒๘
ม.๙๑ ตรี "ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ถึง ๑๐ ปี....."
องค์ประกอบคล้ายกับ ฉ้อโกง ตาม ปอ.ม.๓๔๑
จึงผิด ทั้ง พรบ.จัดหางานฯ กับ ปอ. ลงบทหนักตาม พรบ.จัดหางานฯ
ดังนั้นในความเห็นผม เห็นคล้ายกับท่าน SoOthersMayLive แต่ใจรัก ๑๙(๒) ส่วนหนึ่งในท้องที่หนึ่ง ไม่น่าใช่"ต่อเนื่อง" ด้วยความเคารพ
ถึงแม้จะเดินถนนคนละสาย แต่ก็ไปพบกันที่จุดหมายเดียวกัน คือเมืองเชียงรายนั่นแหละจ้า |
ขอบคุณอาจารย์เทพฯ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.เมืองเชียงราย บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 15/02/2009 11:09 am ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
คือผมไม่ค่อยเข้าใจ ช่วยอธิบายต่ออีกนิด
ตาม ป.วิ 19(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่ง กระทำในท้องที่หนึ่ง อีกส่วนหนึ่งกระทำในอีกท้องที่หนึ่ง
ในเมื่อผู้ต้องหากระทำผิดที่ กทม. ตลอดมา การที่ผู้เสียหายโอนเงินที่เชียงราย จะถือว่าผู้ต้องหามากระทำผิดอีกส่วนที่เชียงราย ได้ด้วยเหรอครับ กรณีดังกล่าวมีฎีกาประกอบมั้ยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เห็นเช่น ท่านเทพฯ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 15/02/2009 1:14 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
เข้า ม.๑๙ (๒) เทียบเคียงเรื่องการ ฉ้อโกง โดยหลอกขายที่ดินที่นครปฐม และไปชี้ที่ดินอีกแปลงที่บางเลน ให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นที่ดินแปลงที่เสนอขาย และอีกเรื่อง การวางระเบิดผูกติดรถยนต์ ท้องที่หนึ่ง และระเบิดไม่ระเบิด และระเบิดเสือกไประเบิดอีกท้องที่หนึ่ง (คดีเรื่องวางระเบิดมารดา สส.คมคาย พลบุตร ) เป็นกรรมเดียวกัน แต่ส่วนหนึ่งกระทำท้องที่หนึ่ง และส่วนหนึ่งกระทำอีกท้องที่หนึ่ง
จึงเป็น ๑๙(๒) แต่ถ้า ม.๑๙ (๓) เป็นคนละกรรม เช่น ลักทรัพย์ จยย. ท้องที่เมืองเชียงราย และขับขี่รถจักรยานยนต์คันดังกล่าว ไปชิงทรัพย์ท้องที่ สภ.แม่จัน อย่างนี้เป็น ม.๑๙(๓) ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
ตอบ: 15/02/2009 1:41 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ผสห.โอนเงินที่เมืองเชียงราย แม้เงินจะไปเข้าที่กรุงเทพ
ท่านคิดว่าที่เมืองเชียงรายจะไม่เกี่ยวข้องเลยหรือครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ออ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 15/02/2009 8:19 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
เมื่อต้นเดือนผมได้ประชุมที่จังหวัด มีเรื่องอัยการสั่งไม่ฟ้องข้อหาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต สั่งฟ้องฉ้อโกงอย่างเดียว ซึ่งอัยการชี้แจงว่า ปัจจุบันแนวฏีกาเปลี่ยนไป ศาลฏ.มองว่า กระบวนการอุปโลกบริษัทจัดหางาน เรื่อยไปจนถึงการไปชักชวนผู้เสียหาย ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นโดยมุ่งหวังเพียงหลอกเอาเงินผู้เสียหาย โดยตลอดเวลาจำเลยไม่เคยคิดจัดหางานเลย จึงเป็นฉ้อโกงฐานเดียว ส่วนจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลมองว่า ต้องมีเจตนาจัดหางานจริง แต่มาจัดหางานโดยไม่ขออนุญาตจึงจะเป็นความผิด เมื่อแนวฏีกาเป็นเช่นนี้อัยการจึงถือตาม โดยสั่งฟ้องฉ้อโกงอย่างเดียว เพราะฟ้องจัดหางานไป ศาลก็ยกอัยการต้องมาทำเรื่องไม่อุทธรณ์ปวดหัวอีก เค้าว่าอย่างงี้ครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
ตอบ: 16/02/2009 10:04 am ชื่อกระทู้: |
|
|
แนวฎีกาเช่นนี้มีมาตั้งนานแล้วครับ เพียงแต่พวกเราไม่ได้มีโอกาสศึกษาโดยละเอียด
หากได้ความว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ ผสห.มาตั้งแต่ต้น เพียงแต่อ้างธุรกิจจัดหางานมาบังหน้าเป็นข้อหลอกลวง ดังนี้จะไปฟ้องจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้ ต้องฟ้อง ม.91 ตรี พรบ.จัดหางานฯ สถานเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2550
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่าจำเลยกับพวกร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเรียกหรือรับเงินค่าบริการจากคนหางานเป็นการตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง แต่โจทก์บรรยายฟ้องตอนหลังว่าจำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่าจำเลยกับพวกสามารถหางานและส่งคนหางานรวมทั้งผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ต่างประเทศโดยจะได้รับค่าจ้างสูงอันเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถหางานและจัดส่งผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ต่างประเทศได้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อและจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยกับพวก เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง เพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจการจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โดยมิได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 82 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8190
|
ตอบ: 16/02/2009 2:06 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรียน ท่าน โอยยยยย.....
ความผิดฐานหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ ความผิด ตาม ม.91 ตรี ถึงแม้จะฟ้องฉ้อโกง ตาม ปอ.ไปด้วย ศาลก็จะลงโทษตาม ม.91 ตรี แต่อัยการก็ต้องฟ้อง ฉ้อโกง ตาม ปอ.ไปด้วย เพื่อให้ศาลสั่งจำเลยชดใช้หรือคืนราคา แม้จริงแล้วศาลจะลงโทษ ม.91 ตรี ก็ตาม ดู ฎ.1445/2549
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2549
คำฟ้องของโจทก์บรรยายความผิดฐานฉ้อโกงและหลอกลวงคนหางานว่าสามารถหางานในต่างประเทศ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจโจทก์ที่จะขอศาลให้สั่งจำเลยคืนเงินที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามได้ และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อหา ซึ่งศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ด้วย แม้จะมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 341 ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 200,000 บาท ที่ฉ้อโกงไปให้แก่ผู้เสียหายทั้งสามตามที่โจทก์ขอมาได้
ก่อนยื่นฎีกา ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ของตนเฉพาะในส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวโดยอ้างว่าได้รับชดใช้เงินจากจำเลยเป็นที่พอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยอีกต่อไป ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเฉพาะในส่วนของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 คนละ 65,000 บาท รวมเป็นเงิน 130,000 บาท ตกไปด้วย โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับจำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ได้อีก คงขอให้บังคับได้เฉพาะผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 70,000 บาท เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เหินฟ้า สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 04/06/2008 ตอบ: 105
|
ตอบ: 05/10/2010 11:33 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
เรียนถามท่านอาจารย์
หากเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาโทรศัพท์จาก กทม.ชักชวนผู้เสียหาย ซึ่งอยู่ที่บ้าน ว่าสามารถส่งไปทำงานยังต่างประเทศได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้เดินทางไปพบผู้ต้องหาและได้มอบเงินให้กับผู้ต้องหาที่ กทม.
กรณีดังกล่าว พงส.ท้องที่ภูมิลำเนาของผู้เสียหายที่รับโทรศัพท์ มีอำนาจสอบสวนหรือไม่ครับ...
จัดหางานส่งเรื่องมา... มีผู้เสียหายหลายคน บางคนโอนเงินจาก ธ.ภูมิลำเนาเข้าบัญชีผู้ต้องหา แต่บางคนเดินทางนำเงินไปมอบให้ผู้ต้องหา..
ขอคำชี้แนะด้วยครับ.. |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|