ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
webmaster เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: Aug 17, 2007 ตอบ: 1393
|
ตอบ: 31/10/2007 3:39 pm ชื่อกระทู้: พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์และพรบ.ศุลกากร |
|
|
พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์และพรบ.ศุลกากร
ข้อความ : ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับเลื่อยโซ่ยนต์มา และได้ตั้งข้อหามา 2 ข้อหา
1.มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง 2.นำพาของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้เสียภาษี กระผมอยากเรียนถามท่านผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วย กรณีเช่นนี้ เราจะดำเนินคดีเฉพาะตาม พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ได้หรือไม่ แล้วเราจะสั่งไม่ฟ้อง ตาม พรบ.ศุลกากรได้หรือไม่
เพราะปัจจุบันมีพรบ.เลื่อยโซ่ยนต์มาใช้บังคับเป็นการเฉพาะแล้วของกลางจะต้องนำส่งศุลกากรให้ประเมินราคาหรือไม่ ท่านผู้ร้กรุณาช่วยชี้แจงด้วย และขอทราบวิธีการปฎิบัติ
จาก : น้องน้อย - 27/10/2007 21:47
ข้อความ : ใช้ตาม พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ ๒๕๔๕ บังคับและเครื่องเลื่อยต้องส่งศุลกากร เน้อ! ใครเขาจับมาละเนี่ย ข้อหานำของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาญาจักรนั้นเป็น พรบ.เลื่อยโช่ยนต์เก่า ซึ่งเขาเลิกใช้กันแล้ว
จาก : พงส.ป่าเหนือ - 27/10/2007 22:32
ข้อความ : ตรวจสอบจากผู้ครอบครองเสียก่อนว่าได้มีการยื่นคำร้อง
ขอใบอนุญาตตาม ม.๑๔ แล้วหรือไม่ ถ้ามีไม่ผิดตาม ม.๔
แล้วให้ทำหนังสือตรวจสอบหรือหารือไปยัง สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อไป
จาก : พงส.... - 27/10/2007 23:12
ข้อความ : พรบ.เลื่อยโซ่ยนต์ ๒๕๔๕
เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์
ตามที่ทราบมาขณะนี้ยังไม่มีในกฎกระทรวงกำหนดคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์"เลย
คงดำเนินคดีได้เฉพาะพ.ร.บ.ศุลกากรฯ
ทราบมาว่า กฤษฎีกา ตีความแล้ว
ลองหาดูครับ
จาก : peebaaw - 28/10/2007 11:50
ข้อความ : ที่มา http://www.krisdika.go.th/searchResult.jsp?head=4
เรื่องเสร็จที่ ๑๕๖/๒๕๔๙
บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕
กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส ๑๖๑๐.๒/๑๓๕๒ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้) ได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ การซ่อมแซมเลื่อยโซ่ยนต์เป็นธุรกิจเพื่อสินจ้าง พ.ศ. .... และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ซึ่งในการพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ได้มีความเห็นเกี่ยวกับนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ว่ากรมป่าไม้จำต้องยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดขอบเขตความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป นั้น
กรมป่าไม้ได้พิจารณาดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) แล้ว แต่เนื่องจากเดิมกรมป่าไม้เข้าใจว่านิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ มีความชัดเจนแล้วโดยไม่จำต้องออกกฎกระทรวงกำหนดความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์อีก เว้นแต่กรณีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ให้เป็นเลื่อยโซ่ยนต์ด้วย กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการประกาศให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับดำเนินการแจ้งการมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๔ จึงมีปัญหาในทางปฏิบัติว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่กรมป่าไม้ได้รับแจ้งไว้ก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดความหมายของเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีผลในทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) ได้พิจารณาข้อหารือของกรมป่าไม้ โดยรับฟังคำชี้แจงจากผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) แล้ว เห็นว่า มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์และเพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ .ศ. ๒๕๔๕ ใช้บังคับ มาตรา ๑๔[๑] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ จึงได้บัญญัติให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่กฎหมายใช้บังคับ มาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ โดยไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๔[๒] และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์พิจารณาออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ต่อไป แต่โดยที่นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นระยะเวลาเกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับแล้ว ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ ตามบทนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓[๓] แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ แต่อย่างใด จึงยังไม่มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ที่จะนำมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๑๔ ได้ ดังนั้น การที่ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ มิได้มาขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่ามีความผิดตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ อย่างไรก็ตาม หากต่อมามีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์แล้ว ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในความครอบครองในวันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับก็ต้องมาดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ให้ถูกต้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับต่อไป
อนึ่ง การดำเนินการแจ้งการมีอยู่ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองต่อนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ใช้บังคับ ก่อนมีการออกกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเลื่อยโซ่ยนต์ ตามบทนิยามคำว่า เลื่อยโซ่ยนต์ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตมีเลื่อยโซ่ยนต์ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ และต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับดังกล่าวแล้วข้างต้น
(ลงชื่อ) พรทิพย์ จาละ
(คุณพรทิพย์ จาละ)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
มีนาคม ๒๕๔๙
--------------------------------------------------------------------------------
ส่งพร้อมหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๙๐๑/๐๓๐๒ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
[๑] มาตรา ๑๔ ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา ๔ และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น เว้นแต่จะขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า
ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและคดียังไม่ถึงที่สุด
ในกรณีที่นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ไม่ออกใบอนุญาตให้ เมื่อผู้นั้นได้นำเลื่อยโซ่ยนต์มามอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งไม่อนุญาต
ในกรณีที่ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ ให้เลื่อยโซ่ยนต์ของผู้นั้นตกเป็นของแผ่นดินนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาตหรือนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำวินิจฉัย
เลื่อยโซ่ยนต์ที่ตกเป็นของแผ่นดินตามวรรคห้า ให้นำไปใช้ประโยชน์ในราชการ หรือจำหน่ายให้แก่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือทำลายตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด
[๒] มาตรา ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์
ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงเลื่อยโซ่ยนต์ให้มีกำลังเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์
การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ผลิตเลื่อยโซ่ยนต์ต้องจัดทำบัญชีและหมายเลขแสดงหน่วยการผลิตตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์ ให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ทำเครื่องหมายที่เลื่อยโซ่ยนต์ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และระบุพื้นที่ที่อนุญาตให้มีหรือใช้เลื่อยโซ่ยนต์ไว้ด้วย
[๓] มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
เลื่อยโซ่ยนต์ หมายความว่า เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้หมายความรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง
ฯลฯ ฯลฯ
จาก : peebaaw - 28/10/2007 12:18
ข้อความ : มีปัญหาว่า..
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ
มาตรา ๒๗ ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในพระราชฯ
มาตรา ๒๗ ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี ฯ
อายุความเริ่มนับเมื่อใด หากนับแต่วันนำเข้ามา(ม.27) และวันที่รับไว้ (ม.27 ทวิ) หากผู้ต้องหาพิสูจน์ได้ว่านำเข้ามาหรือรับไว้ นานแล้วจนล่วงเลยอายุความฟ้องคดี เช่น มีพยานบุคคลมายืนยันว่า เคยว่าจ้างให้ผู้ต้องหา นำเลื่อยเครื่องนี้ไปตัดไม้ในที่ดินที่มี โฉนดที่ดิน เมื่อ 21 ปี มาแล้ว ก็ขาดอายุความ แต่หากนับแต่วันถูกจับกุม ก็จะไม่ขาดอายุความ
อยากขอความเห็นท่านอื่นด้วยครับ
จาก : peebaaw - 28/10/2007 13:02
ข้อความ : ผมเคยเจอแต่ อายุความให้เริ่มนับแต่วันกระทำผิด ครับ ยังไม่เคย
เจออายุความเริ่มนับแต่วันจับกุม หากใครมีข้อ ก.ม.เรื่องนี้ กรุณา
แจ้งให้ทราบเป็นความรู้ด้วยครับ
จาก : พงส.คนหนึ่ง.. - 28/10/2007 16:02
ข้อความ : ผมก็สงสัยเหมือนกัน หากรับเลื่อยโซ่มานาน เกิน อายุความแล้ว ไม่ผิด และกรณี ผู้ต้องหา คดีปืนเถื่อน บอกว่า เก็บได้มานาน เกินอายุความแล้ว และก็มีพยานยืนยันด้วย อย่างนี้จะไม่ผิดเหมือนกัน หรือไม่ หรือ เป็นคนละเรื่องกัน พี่ๆ ช่วยชี้แนะ เหตุและผลให้ด้วย อยากรู้จริงๆ
จาก : พงส.ใหม่ - 29/10/2007 09:40
ข้อความ : ให้ประสานไปที่ศาลจังหวัดสตูลเคยมีคำพิพากษาเกี่ยวกับเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์และ พ.ร.บ.ศุลกากรศาลตัดสินเฉพาะ พ..บ.เลื่อยโซ่ยนต์โดยให้เหตุผลว่ามี พ.ร.บ.เฉพาะแล้ว
จาก : พงส.ใต้ - 31/10/2007 14:28
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
webmaster เว็บมาสเตอร์


เข้าร่วมเมื่อ: Aug 17, 2007 ตอบ: 1393
|
ตอบ: 15/12/2007 8:47 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
dd |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
มะขามหวาน สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 08/08/2010 ตอบ: 2
|
ตอบ: 08/08/2010 4:26 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
แล้วเลื่อยไฟฟ้าล่ะ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
pamporn แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 17/09/2008 ตอบ: 320
|
ตอบ: 08/08/2010 11:10 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
กฎหมายเ้ลื่อยโซ่ยนต์ เขายกเว้นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ไว้เฉพาะคนที่มาแจ้งการครอบครองภายใน 90 วัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ แต่หากเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองหรือไม่มีใบอนุญาต ย่อมผิดทั้งข้อหามีเลืื่ื่อยโซ่ยนต์ และ พ.ร.บ.ศุลกากรด้วย หากเขาจับมา 2 ข้อหา ต้องแจ้งทั้ง 2 ข้อหา และสั่งฟ้องทั้ง 2 ข้อหา จะเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมอย่้าไปสนใจ แจ้งให้ครบไว้ก่อน |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|