ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
เทน บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 25/05/2009 9:03 pm ชื่อกระทู้: ต่างกันอย่างไร |
|
|
วิ่งราวทรัยพ์โดยมีและใช้อาวุธปืนต่างกับชิงทรัพย์อย่างไร การควักปืนออกมาจากเอวแล้วสไลท์ปืนแล้วชูปืนขึ้นมา เจ้าของทรัพย์เห็นวิ่งหนีแล้วคนร้ายเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไป ผิดฐานใด
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เนติบัญฑิตไทย บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 25/05/2009 9:08 pm ชื่อกระทู้: Re: ต่างกันอย่างไร |
|
|
วิ่งราว เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
ชิงทรัพย์ เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
หยินหยาง ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 28/06/2008 ตอบ: 1321
|
ตอบ: 25/05/2009 9:36 pm ชื่อกระทู้: Re: ต่างกันอย่างไร |
|
|
...ข้อเท็จจริงตามกระทู้...มันอยู่ที่ว่าการชักอาวุธปืนออกมาขู่นั้นทำเพื่ออะไร...หากมีเจตนาทุจริตเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์แต่แรก พฤติการณ์ถือว่าเป็นการข่มขู่ที่จะใช้กำลังประทุษร้าย เป็นการชิงทรัพย์....แต่หากเป็นการข่มขู่กันเฉยๆ แต่ผู้เสียหายตกใจทิ้งรถ จึงได้เอารถจักรยานยนต์ไปในภายหลัง แสดงว่าการข่มขู่ไม่ใช่เพื่อประสงค์ต่อทรัพย์...แต่เป็นการลักทรัพย์ ที่มีเจตนาทุจริตเกิดขึ้นในภายหลังการข่มขู่...
...ดังนั้นต้องมีพฤติการณ์เพิ่มเติมมากว่านี้ จึงจะวินิจฉัยได้ถูกต้อง... เช่น ..หากคนร้ายไม่เคยรู้จักกับเจ้าทรัพย์มาก่อน ก็จะเป็นชิงทรัพย์(มีเจตนาทุริตแต่แรก) แต่หากเคยรู้จักและมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ก็อาจเป็นลักทรัพย์(มีเจตนาทุจริตภายหลัง)...  |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 25/05/2009 9:46 pm ชื่อกระทู้: Re: ต่างกันอย่างไร |
|
|
แล้ววิ่งราวโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตาม๓๓๖ทวิเป็นอย่างไรครับขอตัวอย่างด้วยครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 26/05/2009 6:37 am ชื่อกระทู้: Re: ต่างกันอย่างไร |
|
|
ลักทรัพย์โดยฉกฉวยซึ่งหน้า และขณะกระทำความผิดมีและใช้อาวุธปืนตาม๓๓๖ทวิ ถ้าไม่มีและใช้อาวุธปืนก็ผิดวิ่งราวธรรมดา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ศุภกร สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 02/05/2009 ตอบ: 58
|
ตอบ: 26/05/2009 7:45 am ชื่อกระทู้: Re: ต่างกันอย่างไร |
|
|
การมีอาวุธปืนในขณะกระทำความผิดฐานวิ่งราว เป็นการลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า โดยมีเหตุฉกรรจ์ โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ฉนั้นแค่แสดงให้ผู้เสียหายเห็นว่ามีอาวุธปืน แม้ไม่ได้ชักอาวุธปืนออกมาก็สำเร็จในฐานนี้แล้ว ตาม มาตรา 336 ทวิ
ชิงทรัพย์ เป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) - (5)ตามมาตรา 339 ซึ่งหากปรับข้อเท็จจริงเข้ากับปัญหาที่ปรากฎแล้วเห็นว่า ผู้ร้ายประสงค์ต่อทรัพย์โดยมีเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสอง คือชิงรถจักรยานยนต์ตั้งแต่แรก การที่คนร้ายควักปืนออกมาจากเอวแล้วสไลท์ปืนแล้วชูปืนขึ้นมา ก็เพื่อเจตนาให้เจ้าของทรัพย์ตกใจหรือกลัว เมื่อเจ้าของทรัพย์เห็นผู้ร้ายชูปืนขึ้นมา จึงวิ่งหนี...จึงเป็นเจตนาพิเศษเพื่อ " ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์" เข้าองค์ประกอบความผิด ตาม มาตรา 339 (2) ทั้งนี้แม้คนร้ายมิได้พูดบอกกล่าวว่าจะทำร้ายหรือบอกให้ส่งมอบทรัพย์ให้ แต่โดยพฤติการณ์ที่กระทำในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกันกับการลักทรัพย์ไม่ขาดตอน ความผิดฐานชิงทรัพย์จึงสำเร็จเด็ดขาด ตั้งแต่เจ้าของทรัพย์วิ่งหนีแล้ว...ฟันธง.. |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|