ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1507
|
ตอบ: 15/05/2020 4:07 pm ชื่อกระทู้: Re: พงส.เปรียบเทียบปรับได้ทุก พ.ร.บ. จริงหรือไม่ |
|
|
อำนาจเปรียบเทียบของ พงสฯอยู่ที่ มาตรา 38 ส่วนมาตรา 37 อนุ2 อนุ3 อนุ4 ไม่ใช่บทให้อำนาจ แต่เป็นบทรับรองว่า ถ้าใช้อำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 38 โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วมีผลให้ คดีอาญาเลิกกัน
อธิบายโดยยกตัวอย่าง พรบ.รถยนต์ 2522
มาตรา ๖๗ ทวิ บรรดาความผิดตาม พรบ.นี้ ที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิอาญา ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป
อธิบายความได้ว่า
ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว อำนาจเปรียบเทียบปรับ ให้เป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ตามมาตรา 67 ในการนี้ อธิบดีได้มีคำสั่งมอบหมาย ตามประกาศ กรมการขนส่งทางบก ฉบับนี้
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/094/1.PDF
ตีความตามเจตนารมณ์ ตรงตามตัวอักษร และอย่างเคร่งครัด ได้ว่า
พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ แต่เป็นอำนาจของอธิบดี มีอำนาจเปรียบเทียบ ตามพรบ.รถยนต์ ประกอบ วิธีการเปรียบเทียบ ตามปวิอ 38
การตีความขยายให้ พงสฯมีอำนาจเปรียบเทียบด้วยเป็นการต้องห้ามในทางอาญาที่ห้ามตีความขยายอำนาจ
แต่ อย่างไรก็ตาม พรบ.รถยนต์ฯ เปิดช่องให้ อธิบดีมอบอำนาจได้ และอธิบดีได้ใช้อำนาจมอบหมายให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบในคดีที่เกิดในเขตอำนาจได้ ทั่งนี้พนักงานสอบสวนไม่ได้มีอำนาจเปรียบเทียบโดยตรง แต่เป็นการใช้อำนาจแทนอธิบดีตามที่กฎหมายบัญญัติ
อนึ่งมีข้อสังเกตดังนี้
อำนาจเปรียบเทียบของอธิบดี หรือ เจ้าพนักงานที่อธิบดีมอบหมาย ให้เวลาชำระค่าปรับ 30 วัน แต่การเปรียบเที่ยบในอำนาจ พงสฯตามปวิอ 38ประกอบ 37(2) กำหนดชำระค่าปรับ 15 วัน ซึ่งแตกต่างกันมากแสดงว่า การเปรียบเทียบปรับตาม พรบ.รถยนต์ในคดีโทษปรับสถานเดียวไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจในตัวเอง ตาม 38 ที่จะเปรียบเทียบ เพื่อหวังผลให้คดีเลิกกันตาม 37(2)ได้
สรุป คดีโทษปรับสถานเดียว ไม่เกินหมื่นบาท ที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจเปรียบเทียบเป็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายใดแล้ว พนักงานสอบสวนไม่อาจอ้างอำนาจตาม ปวิv 38 เพื่อให้คดีเลิกกันตาม ปวิอ 37(2) ได้
แบบว่า อำนาจใครอำนาจมัน พนักงานสอบสวนจะทึกทักเอาเป็นอำนาจของตนเองโดยอ้าง 37(2)ไม่ได้ เพราะ มาตรา 37(2) ไม่ใช่บทให้อำนาจเปรียบเทียบ
แต่บทให้อำนาจเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวนอยู่ที่ ปวิอ.38
อำนาจเปรียบเทียบของ เจ้าพนักงานอื่นในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ จะบัญญัตไว้ใน พรบ.เฉพาะต่าง ๆ ประกอบวิธีการเปรียเทียบ ตาม 38 ส่่วนมากการเปรียบเทียบโดยอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นจะกำหนดระยะเวลาชำระค่าปรับ ไว้ 30 วัน แตกต่างจากการชำระค่าปรับในอำนาจพนักงานสอบสวนต้องชำระใน 15 วัน
สำหรับประชาชนแล้ว สภาพบังคับตาม พรบ. ในการใช้อำนาจเปรียบเทียบ ประชาชนจะมีระยะเวลาในการนำเงินมาชำระค่าปรับมากกว่าการใช้อำนาจเปรียบเทียบของ พงสฯตาม ปวิอ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1507
|
ตอบ: 15/05/2020 4:15 pm ชื่อกระทู้: Re: พงส.เปรียบเทียบปรับได้ทุก พ.ร.บ. จริงหรือไม่ |
|
|
แต่ในทางปฏบัติ หาก พงสฯ อ้าง 38 ประกอบ 37(2) เปรียบเทียบ ตาม พรบ.รถยนต์ คดีโทษปรับไม่เกินหมื่นบาท ไปแล้ว ส่งเอกสารเปรียบเทียบไปอัยการตาม 142วรรคท้าย แล้วอัยการเห็นชอบ ตรงนี้ก็ไม่ขัดข้องหรอก จบได้ก็ให้มันจบไป
แต่ในทางกฎหมายแล้ว การที่ พงสฯเปรียบเทียบโดยที่อธิบดีมอบหมายมา ถือว่า เป็นการเปรียบเทียบที่คดีเลิกกันตาม ปวิอ 37(4) เอกสารเปรียบเทียบก็ไม่ต้องส่งให้อัยการตรวจเห็นชอบ ตาม ปวิอ 142 วรรคท้าย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8171
|
ตอบ: 11/07/2020 7:12 pm ชื่อกระทู้: พงส.เปรียบเทียบปรับได้ทุก พ.ร.บ. จริงหรือไม่ |
|
|
ว่ากันจริงๆแล้ว พงส.สามารถเปรียบเทียบความผิดอาญาได้ทุกประเภท(หากอยู่ในอำนาจ) เว้นแต่กม.นั้นๆจะมีบทบัญญัติตัดอำนาจเปรียบเทียบของ พงส. ดังเช่น พรบ.ภาษีสรรพสามิต 2560 ข้อหาขายสุราโดยไม่รับอนุญาต แม้อัตราโทษจะอยู่ในอำนาจเปรียบเทียบของ พงส.ก็หาอาจจะเปรียบเทียบได้ไม่ เพราะ พรบ.ภาษีสรรพสามิต 2560 ม.139 ตัดอำนาจเปรียบเทียบของ พงส.
ในส่วน พรบ.รถยนต์ฯ ไม่มีบทตัดอำนาจเปรียบเทียบของ พงส.แต่ประการใด หากอัตราโทษอยู่ในอำนาจเปรียบเทียบ พงส.ย่อมมีอำนาจเปรียบเทียบได้เต็มๆ หาจำต้องรับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ไม่รู้ว่าทำไม ตร.ถึงไปยอมรับการมอบอำนาจ ไม่เข้าใจจริงๆเล้ย ในส่วน พรบ.ขนส่งทางบก จะเห็นได้ว่ามีหลายมาตราที่อัตราโทษเกินอำนาจ เรารับมอบอำนาจมา เราก็เหมือนร่างทรงของอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ก็ไม่ต้องส่ง บ.เปรียบเทียบให้อัยการ เพราะมิใช่การเปรียบเทียบโดยอำนาจแท้จริงของ พงส.ตำรวจ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1507
|
ตอบ: 18/07/2020 12:37 pm ชื่อกระทู้: พงส.เปรียบเทียบปรับได้ทุก พ.ร.บ. จริงหรือไม่ |
|
|
เดิม พงส เปรียบเทียบได้ทุกคดีที่สอบสวน โดยใช้อำนาจตาม ปวิอ 37 38 ประกอบ พรบ เปรียบเทียบ
มาตรา 4 ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือ คดีที่มีโทษปรับ สถานเดียว อย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ให้ พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้น มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ตามประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา
แต่ปรากฎว่า ปัจจุบัน มีการเลิก พรบ เปรียบเทียบ ไปแล้ว พงส คงมีอำนาจเปรียบเทียบตามช่องอำนาจตาม 37(2)ประกอบ 38 แห่ง ปวิอ เท่านั้น กล่าวคือ คดีใดที่ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจ จพง ตามกฎหมายเฉพาะมีอำนาจเปรียบเทียบไว้ พงส ผู้ทำการสอบสวนย้อมมีอำนาจเปรียบเทียบได้. แต่ถ้าคดีเปรียบเทียบใดมีกฎหมายเฉพาะ กำหนดตัวผู้มีอำนาจเปรียบเทียบไว้แล้ว และ เป็นคดีฐานนั้นฐานเดียว ไม่มีความผิดอื่นปนอยู่ในอำนาจสอบสวนของ พงส ต้องส่งให้ จพง ตามกฎหมายเฉพาะ ทำการเปรียบเทียบ.
ส่วนหลักการที่ว่า ไม่มีกฎหมายห้ามหรือไม่มีกฎหมายตัดอำนาจ พงส ไว้ พงส ย่อมเปรียบเทียบได้ เห็นว่าหลักการนี้ไม่ถูกต้อง
มีเหตุผลดังนี้
1. วิอาญา จัดเป็น กฎหมายมหาชน การใช้อำนาจ จนท รัฐอยู่ภายใต้หลักการ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ
2. จากข้อ 1 กรณีจนท รัฐมีอำนาจหลายฝ่าย แม้กฎหมายไม่ห้ามฝ่ายใด ไม่ได้แปลว่า จนท รัฐฝ่ายนั้น จะใช้อำนาจได้ แต่การใช้อำนาจต้องพิณาต่อว่าเรื่องนั้น กฎหมายให้อำนาจฝ่ายใด ฝ่ายนั้นต้องเป็นผู้ใช้อำนาจ
ตัวอย่าง
กรณีผิดฐาน ไม่พกบัตร ปชช และไม่มีความผิดอื่นปน ตำรวจจับมาส่ง พงส ต้องส่งให้ ปลัดอำเภอในฐานะ พงส ฝ่ายปค เปรียบเทียบ.เพราะ พรบ บัตร ปชช เป็นกฎหมายเฉพาะให้ พงจ มีอำนาจเปรียบเทียบ เว้นแต่มีฐานอื่นปน เข่น ถูกจับผิดพรบ การพนันและไม่พกบัตร ปชช พงส ที่สอบสวนคดีนั้น จึงจะเปรียบเทียบเรื่องไม่พกบัตร ปชช ได้
สรุป คดีเปรียบเทียบในอำนาจ จพง ตามกฎหมายเฉพาะ ไม่มีฐานอื่นในอำนาจสอบสวนของ พงส ปนอยู่ด้วย เมื่อ พงส รับตัวผู้ถูกจับแล้วคดีอยู่ในอำนาจเปรียบเทียบของ จพง เฉพาะก็ต้องส่งให้ จพง ผู้มีอำนาจทำการเปรียบเทียบ
หากจะเปรียบเทียบเอง เหมือน พงส ยุค2481-2546 ต้องรื้อฟื้น ประกาศใช้ พรบ การเปรียบเทียบคดีอาญา ขึ้นใหม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|