ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
พงส.แอ็บแบ๊ว บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 02/02/2008 4:24 pm ชื่อกระทู้: เป็นฉ้อโกงหรือไม่ |
|
|
กราบเรียน พี่พงส.อาชีพ(อีสานใต้) ,พี่เทพธันเดอร์นครปฐม และพี่น้อง พงส.ที่เคารพรักทุกท่าน น้องมีปัญหาช่วยแก้ให้ด้วยครับ เรื่องมีอยู่ ผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาหลอกว่าสามารถช่วยให้บุตรชายของผู้เสียหายเข้าไปทำงานที่อบต.แห่งหนึ่งได้ โดยขอค่าบริการเป็นเงินจำนนว 300,000 บาท โดยอ้างว่าหากไม่สามารถช่วยเหลือได้จะคืนเงินให้ทั้งหมด พร้อมทั้งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุผู้ต้องหาเป็นผู้กู้เงินจากผู้เสียหาย จำนวน 300,000 บาท และได้มอบสัญญากู้ยืมให้ผู้เสียหายยึดถือไว้ ซึ่งปรากฏว่า ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบส่งมอบเงินให้ ต่อมาปรากฏว่าผู้ต้องหาไม่สามารถช่วยบุตรชายของผู้เสียหายได้ และพอผู้เสียหายมาขอเงินคืนกลับไม่ให้ และท้าให้นำสัญญากู้ยืมไปฟ้องศาลเอา ถามว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งหรือเป็นเรื่องฉ้อโกงครับ พี่น้องผู้ใดมีประสบการณ์หรือมีฏีกาเทียบเคียง โปรดตอบด่วนด้วยครับ ขอบพระคุณมาก หวังว่าคงจะได้มีโอกาสร่วมงานกับพวกพี่ ๆ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
แมวป่า สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 02/02/2008 ตอบ: 94
|
ตอบ: 02/02/2008 5:18 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ตามปัญหา เป็นการเรียกทรัพย์สินฯ สำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจ เจ้าพนักงานฯ ( คณะกรรมการสอบคัดเลือก /โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อ จพง. ก็ได้) โดยวิธีอันทุจริต ผิด ม. ๑๔๓ ฐาน เป็นคนกลางเรียกรับ ( เพราะเพียงแค่ จะจูงใจ ก็ผิดแล้ว ) มิใช่ยักยอกครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
อก.ผู้ช่วย บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 02/02/2008 5:25 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
ไม่ผิดฐานฉ้อโกง เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สบ๔ อีสาน บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 02/02/2008 9:39 pm ชื่อกระทู้: เป็นฉ้อโกงหรือไม่ |
|
|
แนวโน้มน่าจะเป็นฉ้อโกง...และต้องพิจารณาเรื่องนิติกรรมอำพรางให้ดีด้วย
สำหรับแนวฎีกาเรื่องนี้ มี ๒ แนว คือ ผู้ให้เงินเขาเป็นผู้เสียหายได้ กับ ไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้ มีฏีกาให้อ่านเยอะแยะประเภทอยากให้ลูกเข้ารับราชการบ้าง ตำรวจบ้าง ทหารบ้าง สรุปง่ายๆ คือ ถ้าเรารู้ว่าจะต้องมีกระบวนการสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการแล้วยังอยากเข้าได้
โดยไม่ต้องสอบก็เข้าข่ายติดสินบน จพง.ประเด็นคืน ไม่คืนเงินนั้นไม่สำคัญ ส่วนอีกแนวนึง ถ้าเชื่อโดยสุจริตว่า สามารถเข้าได้โดยวิธีพิเศษอาจไม่ต้องสอบ ไม่มีกระบวนการอะไร เป็นการเอาเข้าตรงๆ อย่างนี้ อาจเป็นผู้เสียหายและได้รับการคุ้มครอง..เทียบได้กับกลุ่มฎีกาการพนันกำถั่วบนรถ
โดยสาร แนวนึงไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะสมัครใจเข้าเล่น กับอีกแนวนึงถูกหลอกลวงให้เข้าไปเล่นแล้วถูกโกง....ลองหาอ่านฎีกาฉ้อโกงกลุ่มพวกนี้ดู
จะได้แนวทาง (ไม่มีตำราอยู่ภาคใต้ ไม่ได้หิ้วไปจากอีสานด้วย พอนึกออกว่ามีแนวทางแบบที่ว่ามา) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เทพธันเดอร์นครปฐม สุดยอดแฟนพันธุ์แท้


เข้าร่วมเมื่อ: 24/01/2008 ตอบ: 8121
|
ตอบ: 03/02/2008 5:28 pm ชื่อกระทู้: |
|
|
เรื่องข้างต้นหากจะหาคำตอบที่อาจจะถูกตอบได้และมีข้อเท็จจริงสนับสนุนเพียงพอ มี 3 แนวทางคือ
1.ม.143 คนกลางเรียกหรือรับสินบน
จะต้องปรากฎว่ามีการเรียกเงินเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน
ตามกระทู้ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน แต่ถ้าปรากฎข้อเท็จจริงว่าจะเอาเงินไปวิ่งเต้นกับ.......(ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการนั้นๆ)ก็จะเป็นความผิดแล้ว แม้ความจริงคนกลางจะไม่ได้ตั้งใจเอาเงินไปวิ่งเต้นให้เลยก็ตาม ถ้าหากว่าคนกลางเอาเงินไปให้ จพง.ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการนั้นๆแล้ว
ผู้ให้เงินแก่คนกลางก็จะมีความผิดฐานสนับสนุนในการให้สินบนแก่ จพง.ตาม ม.144+86
ส่วน จพง.ก็โดน ม.149
********************************
ความแตกต่างของการให้เงินเพื่อให้ตนได้เข้าทำงาน มีทั้งผู้ให้เงินเป็นผู้เสียหายและไม่ใช่ผู้เสียหาย
แนว ฎ.2440/2525 ,2174-5/2530 ปละ 2714/2535 สรุปได้ว่า ผู้ถูกหลอกลวงให้เงินไปเพราะต้องการเข้าทำงานให้ได้ มิได้ล่วงรู้มาก่อนว่าเงินที่ตนให้ไปจะกลายไปเป็นเงินที่ให้สินบนในภายหลัง กรณีเช่นนี้จะถือว่าผู้ให้เงินมีส่วนร่วมหรือเป็นผู้ใช้ให้ทำผิดไม่ได้ จึงยังคงเป็นผู้เสียหายอยู่
อีกแนว ฎ.340/2506 , 971/2508 , 1931/2519 และ 1638-40/2523 ให้เงินไปโดยรู้อยู่ว่าเงินนั้นใช้เป็นค่าวิ่งเต้นหรือสินบน จึงกลายเป็นผู้ใช้ให้กระทำผิดหรือมีส่วนร่วมในการนำเงินให้ จพง. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ฐานฉ้อโกงได้
ตามกระทู้ก็คงเหลือคำตอบอยู่ 2 คำตอบ (เพราะไม่มีประเด็นเกี่ยวกับ จพง. เลย) คือ เป็นฉ้อโกง(แต่จะร้องทุกข์ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาผู้เสียหายตามที่วางแนวไว้แล้ว) หรือ ผิดสัญญาทางแพ่ง
ถ้าเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ก็ต้องมาดูเรื่องการแปลงหนี้ หนี้เดิมต้องเป็นหนี้ที่ชอบด้วย กม.การให้เงินเขาไปเพราะเขาบอกว่าสามารถทำให้เข้าทำงาน อบต.นี้ได้ ไม่ได้มีรายละเอียดว่าจะเอาไปวิ่งเต้นยัดเงินใคร น่าจะถือว่าไม่ผิด กม.อะไร ดังนั้นเมื่อหนี้เดิมสมบูรณ์แล้วมีการแปลงมาเป็นหนี้เงินกู้ยืม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนมูลหนี้ ย่อมสมบูรณ์ดุจกันและย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้ แต่หากหนี้เดิมไม่ชอบ ย่อมไม่อาจแปลงหนี้ได้
วินิจฉัยจากข้อเท็จจริงตามกระทู้ซึ่งมีจำกัด หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไป การวินิจฉัยก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามข้อเท็จจริงนั้น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เทพธันเดอร์นครปฐม เมื่อ 07/09/2009 2:33 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนนอก บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 02/11/2008 1:14 pm ชื่อกระทู้: Re: |
|
|
ถามต่อว่า ถ้าผู้ให้งินไม่ใช่ผู้เสียหาย ใครสามารถร้องทุกข์ตามระเบียบได้ ( พงส.หรือไม่) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|