Facebook Page สอบสวน 599 Twitter สอบสวน 599 Youtube สอบสวน 599 facebook group สอบสวน 599 เพิ่มเพื่อน

sobsuan.com :: ดูกระทู้ - ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ทุนตำรวจ
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
ลูกแม่ปิง
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2011
ตอบ: 509

ตอบตอบ: 16/07/2012 9:55 pm    ชื่อกระทู้: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I
“หยุด นี่คือเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ” !!
คำพูดประโยคนี้ คอหนังสืบสวนคงได้ยินจนคุ้นหู ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนกลาง(Federal Bureau of Investigation) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม “เอฟบีไอ”ออกปฏิบัติหน้าที่เมื่อไร
ต้องกล่าวกับเหล่าอาชญากรทุกครั้งที่มีการจับกุม หรือตรวจค้นต่างๆ ถึงไม่เชื่อแต่ก็ต้องเชื่อ ในเมืองไทยเองก็มี เอฟบีไอ ในคราบตำรวจทั้งในและนอกราชการ หากนับจาก พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (นรป.) ที่เป็นนักเรียนหลักสูตรเอฟบีไอคนแรกของเมืองไทย รุ่นที่ 70 เมื่อปี 2505 รายล่าสุดคือ พ.ต.ท.เขมชาติ หิรัญโตสารวัตรฝ่าย 2 กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)



ปัจจุบันเครือข่ายเอฟบีไอในเมืองไทยนั้นสังกัดอยู่ภายใต้ร่มเงา สมาคมนักเรียนเก่าเอฟบีไอ-เอ็นเอ แห่งประเทศไทย หรือ (FBI-NAAT) ที่มี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รั้งเก้าอี้นายกสมาคม ซึ่งถือเป็นสมาคมนักเรียนเก่าของเอฟบีไอสถาบันแรกในโลก
ที่ก่อตั้งขึ้นนอกพื้นที่สหรัฐที่ยังคงคุณภาพคับแก้ว ถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 47 ปี
มีตำรวจเอฟบีไอในเมืองไทยจบมาแล้วกว่า 164 รุ่น รวมแล้ว 126 นาย
โดยกระจายกันอยู่ในหน่วยสำคัญของ สตช.มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจนครบาล
ที่ดูแลสุขทุกข์คนเมืองหลวง ตำรวจกองปราบปราม ที่มีอำนาจสืบสวนจับกุมทั่วประเทศ
ตำรวจสันติบาล ในฐานะเหยี่ยวข่าวความมั่นคงชั้นยอด รวมทั้งยังมี “นักสืบ”
ดีกรีสูงจากสหรัฐกระจายอยู่ในงานตำรวจภูธรทั่วประเทศ!!



คัดเฉพาะหัวกะทิ
ตำรวจจากเมืองไทยน้อยคนนักจะได้รับโอกาสถูกส่งตัวไปร่วมเรียนหลักสูตร 11 สัปดาห์
ในรั้วเอฟบีไอ อะคาเดมี (FBI Academy) เมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ที่ก้าวผ่านไปได้ต้องมีความสามารถพิเศษ นอกจากต้องมีทักษะตำรวจดี
ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ
เพื่อใช้สื่อสารกับเพื่อนตำรวจนานาชาติตลอดหลักสูตรอีกด้วย
ขึ้นชื่อชั้นพะยี่ห้อ เอฟบีไอ หน่วยหลักในการคลี่คลายคดีอาชญากรรมระดับชาติของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนาน และเพิ่งฉลองครบ 100 ปี เมื่อปี 2551 นี้เอง อำนาจสืบสวนและจับกุมของเอฟบีไอนั้นไปได้ทั่วสหรัฐ
ยิ่งหากได้รับการฝึกฝนมาดี ก็ยิ่งทำงานง่าย และสยบอาชญากรไม่ให้โงหัวก่อกวนชาวบ้านได้ง่ายๆ
และเมื่อได้รับแรงหนุนจาก สมาคมหัวหน้าตำรวจนานาชาติ (International Association of Chiefs of Police)
และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐด้วยแล้ว หลักสูตรเอฟบีไอก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้นทุกที บนเนื้อที่ 285 เอเคอร์
ซึ่งล้อมรอบด้วยป่าไม้ล้วนๆ ทำให้อะคาเดมีปลอดภัยและเงียบสงบ ไร้สิ่งรบกวนต่างๆ จากโลกภายนอก
จึงเหมาะสมกับการฝึกฝนและเรียนรู้หลักสูตรยุทธวิธีของเอฟบีไอเป็นอย่างดี
และยังใช้ฝึกหัดเจ้าหน้าที่ใหม่ของหน่วยปราบปรามยาเสพติด หรือ ดีอีเอ
(Drug Enforcement Administration) ไปด้วย หากเป็นเมืองไทยพวกนี้ก็คือ ป.ป.ส.
ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเหมือนกัน ตำรวจไทยเองได้โควตาเข้าเรียนอัตราแค่ปีละ 1 คนเท่านั้น
เมื่อถูกนำไปบ่มความแกร่งกล้าร่วมกับเพื่อนตำรวจจาก 50 รัฐทั่วอเมริกา และตำรวจจาก 150 ชาติทั่วโลก
ก็ไม่น่าแปลกใจหากเอฟบีไอจะขยายฐาน Special Agent หรือเจ้าหน้าที่พิเศษ เพิ่มมากขึ้นทุกทีจนเหล่าร้ายหวาดผวา

ฝึกจริง-แก้ไขสถานการณ์
ในแต่ละคอร์สของหลักสูตรเอฟบีไอมีนักเรียนไม่น้อยกว่ารุ่นละ 250 นาย
นักเรียนแต่ละชาตินั้นต้องได้รับการส่งตัวจากอธิบดีตำรวจ หรือผู้บัญชาการตำรวจ
ให้เข้าร่วมเรียนอย่างเป็นทางการเท่านั้น เนื้อหาวิชาที่ร่ำเรียนก็เอื้อต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็น วิชากฎหมาย พฤติกรรมอาชญากร นิติวิทยาศาสตร์ การออกกำลังกายตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา
การยิงปืนยุทธวิธี และพัฒนาบุคลิกผู้นำ นอกเหนือจาก “ตำรวจท้องถิ่น” จาก 50 รัฐ
และตำรวจจากอีกกว่า 150 ชาติทั่วโลก ที่ได้รับสิทธิหมายเลข 1 ในรั้วเอฟบีไอแล้ว
เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายอื่นๆ (Law Enforcement) เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่สรรพสามิต
นายอำเภอ ตำรวจรัฐ พัศดีผู้คุมเรือนจำ ตำรวจศาล สารวัตรทหาร 3 เหล่าทัพสหรัฐ
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ ก็ได้รับสิทธิเข้าศึกษาหลักสูตรเอฟบีไอได้เหมือนกัน
ทำให้ตอบโจทย์ได้ว่า สาเหตุที่มีตัวย่อ NA ในหลักสูตรนั้นก็มาจากคำว่า National Academy
คือหลักสูตรฝึกฝนสำหรับเจ้าหน้าที่สืบสวนนานาชาติที่ร่วมคอร์สเรียนนั่นเอง
ศิษย์เก่าเอฟบีไอ รุ่นที่ 159 เมื่อปี 2532 ที่ชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร ก็เคยกินอยู่หลับนอนและเล่าเรียนหลักสูตรเอฟบีไอ ซึ่งอยู่ในรั้วเดียวกับฐานฝึกนาวิกโยธินสหรัฐมาแล้ว




สถานที่ขึ้นชื่อในการฝึกต้องยกให้ “โฮแกนส์ อัลเลย์” (Hogan’s Alley) ซึ่งจำลองรูปแบบชีวิตในเมืองไว้สมบูรณ์แบบ
มีทั้ง ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ปั๊มน้ำมัน สถานบันเทิง ฯลฯ
ซึ่งเมืองแห่งนี้จะเป็นบันไดชั้นดีเพื่อทดสอบงานปราบอาชญากรรม สืบสวน ปิดล้อม ตรวจค้น
จับกุม ของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอหน้าใหม่ ในการแก้ไขสถานการณ์จริงที่อยู่นอกตำราเรียน
และสั่งสมประสบการณ์เบื้องต้นเอาไว้ใช้ในปฏิบัติการจริงที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ในอาชีพผู้พิทักษ์กฎหมาย
สิ่งที่เป็นประโยชน์กับนักเรียนเอฟบีไออย่างยิ่งคือ เมื่อจบแต่ละหลักสูตรแล้ว
ยังสามารถนำหน่วยกิตที่ได้จากอะคาเดมีแห่งนี้ไปเทียบหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียได้อีกด้วย
เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว จบหลักสูตรเอฟบีไอแล้วยังเรียนได้ดีกรีเรียนมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียอีกต่างหาก
หลังจากทุกคนผ่านหลักสูตรเอฟบีไอเรียบร้อยแล้ว นักเรียนแต่ละคนก็จะได้เป็นสมาชิกสมาคมวิทยาลัยนานาชาติเอฟบีไอ
(National Academy Associates) ที่มีมวลหมู่เพื่อนพ้องมากกว่า 1.5 หมื่นคน
ในเพื่อนร่วมอาชีพพิทักษ์กฎหมายจากทั่วสหรัฐและทั่วโลก กลายเป็นเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมชั้นดี
เนื่องจากทุกคนยังคงติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่ตลอด
ยิ่งเมื่อประสานพลังกันไล่ล่าอาชญากรที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ขึ้นมาก่อกวนสังคม
ศิษย์เก่าเอฟบีไอก็ยิ่งได้ลองวิชาทักษะ และกลยุทธ์ที่คร่ำเคร่งร่ำเรียนกันมา 11 สัปดาห์
ยิ่งก้าวประชิดอาชญากรมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเก่งกล้าขึ้นทุกที


หลักสูตร FBI National Academy เป็นหลักสูตรระดับ Professional ของหน่วยงานFBI
สถานที่ฝึกอบรมตั้งอยู่ที่ เมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 10 สัปดาห์
มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประมาณ 250 คนต่อรุ่น โดยจัดปีละ 4 รุ่น
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบไปด้วยผู้รักษากฎหมายระดับผู้นำและผู้บริหารจากสหรัฐอเมริกา
และผู้รักษากฎหมายกว่า 150 ประเทศทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐาน พัฒนาองค์ความรู้
และสร้างความร่วมมือในการทำงานระหว่างผู้รักษากฎหมายทั่วโลก



สำหรับประเทศไทย นับได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้
มากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยส่งเข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ยปีละ 3 รุ่น และมีผู้สำเร็จการศึกษามากกว่า 100 นาย
ปัจจุบัน ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ มากมาย
และได้นำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาหน่วยงานได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น
จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA ขึ้นมา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างองค์การสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA
ตลอดจนองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA ทั้งในประเทศและในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
ตลอดจนประสานงานให้เกิดผลที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และนำความสงบสุขมาสู่สังคมไทย

ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ลูกแม่ปิง
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2011
ตอบ: 509

ตอบตอบ: 16/07/2012 9:57 pm    ชื่อกระทู้: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฝาก ให้เพื่อน รองผกก.สส.ทุ่งช้าง จว.น่าน ไกลปืนเที่ยง (ไม่มีงานทำ) อ่าน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ลูกแม่ปิง
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2011
ตอบ: 509

ตอบตอบ: 16/07/2012 10:08 pm    ชื่อกระทู้: เซอร์ โรเบิร์ต พีล ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการสำหรับวิชาชีพตำรวจของ เซอร์ โรเบิร์ต พีล แห่งอังกฤษ มี 9 ประการ

(1) การป้องกันอาชญากรรมเป็นภารกิจพื้นฐานของตำรวจ
(2) ตำรวจต้องได้รับความเคารพเชื่อถืออย่างแท้จริงจากประชาชน
(3) การที่ประชาชนเคารพปฏิบัติตามกฎหมายเท่ากับเป็นการสร้างความเคารพศรัทธาของประชาชนที่มีต่อตำรวจ
(4) ความร่วมมือสนับสนุนของประชาชนจะลดน้อยถอยลงเมื่อความรุนแรงของตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขขึ้น
(5) ตำรวจต้องปฎิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความยุติธรรม
(6) ตำรวจควรใช้กำลังในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
(7) ตำรวจก็คือประชาชน และประชาชนก็คือตำรวจ
(Cool ตำรวจเป็นตัวแทนของกฎหมาย
(9) ความปลอดจากอาชญากรรมและความยุ่งเหยิงเป็นการทดสอบถึงประสิทธิภาพของตำรวจ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ลูกแม่ปิง
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2011
ตอบ: 509

ตอบตอบ: 16/07/2012 10:15 pm    ชื่อกระทู้: มารู้จักคำว่า "mala in se "และ "mala prohibit ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อาชญากรรม หรือการกระท�าที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่มีโทษทางอาญาซึ่งแบ่งออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. การกระท�าที่เป็นความผิดในหรือโดยตัวของมันเอง หรือ
mala in se (ภาษาลาติน) เช่น ฆ่าผู้อื่น ท�าร้ายร่างกายผู้อื่น ชิงทรัพย์และ
ปล้นทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งทุกประเทศหรือทุกสังคมบัญญัติเป็นความผิดทางอาญา
2.และการกระท�าที่โดยทั่วไปที่ไม่เป็นความผิด แต่รัฐหรือกฎหมายบัญญัติให้เป็น
ความผิดทางอาญา หรือmala prohibita(ภาษาลาติน) เช่น ความผิดต่อ พ.ร.บ.
จราจรทางบก พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิด พ.ร.บ.
ปรามการค้าประเวณีพ.ร.บ. การพนัน พ.ร.บ. ยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งความผิด
ประเภทนี้บางประเทศอาจบัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญาแต่อีกบางประเทศ
อาจไม่บัญญัติให้เป็นความผิดทางอาญา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ลูกแม่ปิง
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 20/06/2011
ตอบ: 509

ตอบตอบ: 16/07/2012 10:22 pm    ชื่อกระทู้: ทฤษฎีว่าด้วยหลักการปฏิบัติของหน่วยในกระบวนการยุติธรรม ในการอ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทฤษฎีว่าด้วยหลักการปฏิบัติของหน่วยในกระบวนการยุติธรรม
ในการอ�ำนวยความยุติธรรม
1. ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model)

เป็นทฤษฎีที่ต้องการส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม
โดยมุ่งควบคุม ระงับและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก ทฤษฎีนี้เชื่อว่า
การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม ่สามารถจะควบคุมและปราบปรามอาชญากรรม
หรือจับกุมอาชญากรมาลงโทษตามกฎหมายได้นั้น ย่อมเป็นการกระทบกระเทือน
ต ่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและเสรีภาพของประชาชนผู้สุจริต ดังนั้น
กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องมีสถิติการจับกุมสูงๆเป็นหลักที่เน้นประสิทธิภาพ
คือการประสบผลส�าเร็จโดยการลงแรงและลงทุนน้อยที่สุดและการปฏิบัติหน้าที่
ของเจ้าหน้าที่รัฐต้องด�าเนินการด้วยความรวดเร็วและเด็ดขาด โดยการค้นหา
ความจริงในกระบวนการยุติธรรมจะด�าเนินการไปตามขั้นตอนต่างๆ ที่ก�าหนด
ไว้อย่างสม�่าเสมอไม่หยุดชะงักด�าเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นการปฏิบัติงาน
ประจ�า และเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมมีดุลยพินิจในการปฏิบัติตาม
กฎหมายอย่างเต็มที่

2. ทฤษฎีกระบวนการนิติธรรม (Due Process Model)

เป็นหลักที่ตรงข้ามกับทฤษฎีควบคุมอาชญากรรม คือ ในการปฏิบัติ
หน้าที่ต้องยึดหลักนิติธรรม เน้นการคุ้มครองสิทธิบางอย ่างของประชาชน
มากกว ่าการพยายามป้องกันอาชญากรรม เป็นหลักการที่เน้นคุณภาพ คือ
กระบวนการที่มีคุณภาพต้องเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ ่อน ซับซ้อนและ
12 กระบวนการและการบริหารงานยุติธรรมไทยสามารถแก้ไขจุดบกพร่องตัวเองได้และมีมาตรฐานเป็นเช่นเดียวกันทุกกรณี
ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องเน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก
ซึ่งต้องมีการถ่วงดุลอ�านาจระหว่างเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม
ทั้งนี้นอกเหนือจากแนวคิดทฤษฎีทั้งสองแล้วหน่วยงานในกระบวนการ
ยุติธรรมทางอาญาในการด�าเนินการยังค�านึงถึงการด�าเนินงานที่มีความสัมพันธ์
กับระบบงานย่อยของชุมชน หมายความว่า หน่วยงานต่างๆในชุมชนทั้งภาครัฐ
และเอกชน รวมกับระบบงานควบคุมอาชญากรรม เป็นระบบงานยุติธรรมนี้
ซึ่งก็คือให้หน่วยงานต่างๆเหล่านั้นมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของระบบการป้องกัน
อาชญากรรมและการควบคุมอาชญากรรม โดยระบบงานนี้มีลักษณะส�าคัญ
3 ประการด้วยกัน คือ
1. การยอมรับว ่าการบริหารงานยุติธรรมเป็นส ่วนหนึ่งของการ
ท�าหน้าที่ควบคุมสังคมของสถาบันต ่างๆ ในชุมชนทั้งหมด แนวความคิดนี้
ตรงข้ามกับระบบงานยุติธรรมที่ท�าหน้าที่ควบคุมอาชญากรรมที่แยกตัวออกมา
เป็นเอกเทศในแง่ที่ว่ามองเห็นระบบงานควบคุมอาชญากรรมเป็นส่วนสนับสนุน
การควบคุมอย่างไม่เป็นทางการที่ท�าโดยครอบครัว โรงเรียน และสถาบันทาง
ศาสนา และทางสังคมอื่นๆ ซึ่งเมื่อร่วมกับสถาบันทางกฎหมายต่างๆ แล้วก็จะ
ประกอบเข้าเป็นโครงสร้างทางสังคมทั้งหมด และในฐานะเป็นระบบงานย่อย
หน ่วยงานยุติธรรมต ่างๆ จะรวมกันกับหน ่วยงานย ่อยอื่นๆ ที่ควบคุมสังคม
รับผิดชอบในการที่จะท�าให้ทุกคนหันมาเอาใจใส่กับผลประโยชน์ของชุมชน
กระบวนการและการบริหารงานยุติธรรมไทย 13 2. การก�าหนดเป้าหมายของระบบงาน เป้าหมายของระบบงานนี้ไม่ใช่
แต่เพียงการควบคุมอาชญากรรมอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ทว่าเป็นการส่งเสริมให้
ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายระบบงานนี้จะถือว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นหนทาง
สุดท้ายและใช้เฉพาะกับรูปแบบของพฤติกรรมที่ไม่อาจควบคุมโดยการควบคุม
อย ่างไม ่เป็นทางการได้ นอกจากนี้แนวความคิดของระบบนี้ยังชี้แนะว ่า
การบริหารงานยุติธรรมอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาอาชญากรรมเมื่อมาตรการ
ควบคุมอาชญากรรมก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม หรือขัดต่ออุดมการณ์ทาง
วัฒนธรรมของสังคมเช่น เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมประกอบอาชญากรรม
เสียเอง
3. การรับรู้ขอบเขตของการใช้อ�านาจบังคับตามกฎหมาย และของ
เทคนิคที่ใช้ในการควบคุมอาชญากรรม เป็นอีกลักษณะหนึ่งของระบบงานนี้
การบริหารงานยุติธรรมไม่อาจแก้ไขความยุ่งยากต่างๆ ที่ก่อขึ้นโดยพฤติกรรม
เบี่ยงเบนทั้งหมดได้ในระยะยาว แนวความคิดของระบบนี้คือ พยายามใช้
การควบคุมทางกฎหมายให้น้อยที่สุด ในเมื่อการควบคุมพฤติกรรมต่างๆ อย่าง
ไม่เป็นทางการภายในชุมชนแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพพอ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
pooltana
สมาชิก
สมาชิก


เข้าร่วมเมื่อ: 12/09/2009
ตอบ: 132

ตอบตอบ: 17/07/2012 7:48 am    ชื่อกระทู้: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วิศิษฐ์ คราวนี้ จัดเต็ม จัดหนัก ของเรา ก็มี พงส FBT นะ วิศิษฐ ก็ พงส ฟุตบอลไทย ไง โดนโยก โดนเตะ เป็นลูกฟุตบอลไทย เลย 5555
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
บัณฑิตน้อย
แฟนคลับ
แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 23/04/2009
ตอบ: 363

ตอบตอบ: 17/07/2012 3:41 pm    ชื่อกระทู้: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าให้พรรค ปชป.รู้นะครับเดียวยื่นศาล ตลก.ให้ตีความว่ากำลังละเมิดอำนาจอธิปไตย เหมือนกับนาซ่า หรือพิซซ่า หัวเราะ หัวเราะ หัวเราะ หัวเราะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
พนักงานสอบสวนเมืองน้ำดำ
กูรู
กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 15/11/2009
ตอบ: 450

ตอบตอบ: 22/07/2012 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ส่งไปอบรมเยอะๆครับ กลับมาพัฒนาเมืองไทย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการ
บุคคลทั่วไป





ตอบตอบ: 07/05/2014 10:11 pm    ชื่อกระทู้: ตำรวจทำงานกะจอกมาก ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่จิงอะผมแจ้งความไปเป็นปีแล่้วแต่ไม่มีอะไรเก้าหน้าเลย

ผมโดนโกงโดยการที่ผมซื้อโทรสัพทางเน็ตโอนเงินแล้วไม่ได้ของ

แต่ตำรวจไม่ทำอะไรเลย

มันยากมากหราคับกับการตามตัวนิ

ให้อำนวจในการตามกับผผมสิคับ ผมขอเวลา ไม่เกิน 2 เดือนเจอ

ชื่อบันชีที่โอนก้อมีมันยากอะไรกับแค่ตามเจ้าของบันชีมาสอบ

แล้วก้อตรวจสอบการถอนเงินว่าถอนจากตู้ไหน แล้วไปเปิดกล่องดูแค่นี้ก้อรู้ว่าเปงใคร

แต่แม้ไม่ทำอะไรเลย อยู่ไปก้อกินเงินหลวงวะ
กลับไปข้างบน
บุคคลทั่วไป






ตอบตอบ: 19/11/2016 3:39 am    ชื่อกระทู้: Re: ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลูกแม่ปิง บันทึก:
ตำรวจไทยกับหลักสูตร F B I
“หยุด นี่คือเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ” !!
คำพูดประโยคนี้ คอหนังสืบสวนคงได้ยินจนคุ้นหู ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนกลาง(Federal Bureau of Investigation) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ที่รู้จักกันในนาม “เอฟบีไอ”ออกปฏิบัติหน้าที่เมื่อไร
ต้องกล่าวกับเหล่าอาชญากรทุกครั้งที่มีการจับกุม หรือตรวจค้นต่างๆ ถึงไม่เชื่อแต่ก็ต้องเชื่อ ในเมืองไทยเองก็มี เอฟบีไอ ในคราบตำรวจทั้งในและนอกราชการ หากนับจาก พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ (นรป.) ที่เป็นนักเรียนหลักสูตรเอฟบีไอคนแรกของเมืองไทย รุ่นที่ 70 เมื่อปี 2505 รายล่าสุดคือ พ.ต.ท.เขมชาติ หิรัญโตสารวัตรฝ่าย 2 กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)



ปัจจุบันเครือข่ายเอฟบีไอในเมืองไทยนั้นสังกัดอยู่ภายใต้ร่มเงา สมาคมนักเรียนเก่าเอฟบีไอ-เอ็นเอ แห่งประเทศไทย หรือ (FBI-NAAT) ที่มี พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
รั้งเก้าอี้นายกสมาคม ซึ่งถือเป็นสมาคมนักเรียนเก่าของเอฟบีไอสถาบันแรกในโลก
ที่ก่อตั้งขึ้นนอกพื้นที่สหรัฐที่ยังคงคุณภาพคับแก้ว ถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 47 ปี
มีตำรวจเอฟบีไอในเมืองไทยจบมาแล้วกว่า 164 รุ่น รวมแล้ว 126 นาย
โดยกระจายกันอยู่ในหน่วยสำคัญของ สตช.มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจนครบาล
ที่ดูแลสุขทุกข์คนเมืองหลวง ตำรวจกองปราบปราม ที่มีอำนาจสืบสวนจับกุมทั่วประเทศ
ตำรวจสันติบาล ในฐานะเหยี่ยวข่าวความมั่นคงชั้นยอด รวมทั้งยังมี “นักสืบ”
ดีกรีสูงจากสหรัฐกระจายอยู่ในงานตำรวจภูธรทั่วประเทศ!!



คัดเฉพาะหัวกะทิ
ตำรวจจากเมืองไทยน้อยคนนักจะได้รับโอกาสถูกส่งตัวไปร่วมเรียนหลักสูตร 11 สัปดาห์
ในรั้วเอฟบีไอ อะคาเดมี (FBI Academy) เมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ที่ก้าวผ่านไปได้ต้องมีความสามารถพิเศษ นอกจากต้องมีทักษะตำรวจดี
ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ
เพื่อใช้สื่อสารกับเพื่อนตำรวจนานาชาติตลอดหลักสูตรอีกด้วย
ขึ้นชื่อชั้นพะยี่ห้อ เอฟบีไอ หน่วยหลักในการคลี่คลายคดีอาชญากรรมระดับชาติของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนาน และเพิ่งฉลองครบ 100 ปี เมื่อปี 2551 นี้เอง อำนาจสืบสวนและจับกุมของเอฟบีไอนั้นไปได้ทั่วสหรัฐ
ยิ่งหากได้รับการฝึกฝนมาดี ก็ยิ่งทำงานง่าย และสยบอาชญากรไม่ให้โงหัวก่อกวนชาวบ้านได้ง่ายๆ
และเมื่อได้รับแรงหนุนจาก สมาคมหัวหน้าตำรวจนานาชาติ (International Association of Chiefs of Police)
และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐด้วยแล้ว หลักสูตรเอฟบีไอก็ยิ่งเข้มแข็งขึ้นทุกที บนเนื้อที่ 285 เอเคอร์
ซึ่งล้อมรอบด้วยป่าไม้ล้วนๆ ทำให้อะคาเดมีปลอดภัยและเงียบสงบ ไร้สิ่งรบกวนต่างๆ จากโลกภายนอก
จึงเหมาะสมกับการฝึกฝนและเรียนรู้หลักสูตรยุทธวิธีของเอฟบีไอเป็นอย่างดี
และยังใช้ฝึกหัดเจ้าหน้าที่ใหม่ของหน่วยปราบปรามยาเสพติด หรือ ดีอีเอ
(Drug Enforcement Administration) ไปด้วย หากเป็นเมืองไทยพวกนี้ก็คือ ป.ป.ส.
ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมเหมือนกัน ตำรวจไทยเองได้โควตาเข้าเรียนอัตราแค่ปีละ 1 คนเท่านั้น
เมื่อถูกนำไปบ่มความแกร่งกล้าร่วมกับเพื่อนตำรวจจาก 50 รัฐทั่วอเมริกา และตำรวจจาก 150 ชาติทั่วโลก
ก็ไม่น่าแปลกใจหากเอฟบีไอจะขยายฐาน Special Agent หรือเจ้าหน้าที่พิเศษ เพิ่มมากขึ้นทุกทีจนเหล่าร้ายหวาดผวา

ฝึกจริง-แก้ไขสถานการณ์
ในแต่ละคอร์สของหลักสูตรเอฟบีไอมีนักเรียนไม่น้อยกว่ารุ่นละ 250 นาย
นักเรียนแต่ละชาตินั้นต้องได้รับการส่งตัวจากอธิบดีตำรวจ หรือผู้บัญชาการตำรวจ
ให้เข้าร่วมเรียนอย่างเป็นทางการเท่านั้น เนื้อหาวิชาที่ร่ำเรียนก็เอื้อต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็น วิชากฎหมาย พฤติกรรมอาชญากร นิติวิทยาศาสตร์ การออกกำลังกายตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา
การยิงปืนยุทธวิธี และพัฒนาบุคลิกผู้นำ นอกเหนือจาก “ตำรวจท้องถิ่น” จาก 50 รัฐ
และตำรวจจากอีกกว่า 150 ชาติทั่วโลก ที่ได้รับสิทธิหมายเลข 1 ในรั้วเอฟบีไอแล้ว
เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายอื่นๆ (Law Enforcement) เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่สรรพสามิต
นายอำเภอ ตำรวจรัฐ พัศดีผู้คุมเรือนจำ ตำรวจศาล สารวัตรทหาร 3 เหล่าทัพสหรัฐ
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ ก็ได้รับสิทธิเข้าศึกษาหลักสูตรเอฟบีไอได้เหมือนกัน
ทำให้ตอบโจทย์ได้ว่า สาเหตุที่มีตัวย่อ NA ในหลักสูตรนั้นก็มาจากคำว่า National Academy
คือหลักสูตรฝึกฝนสำหรับเจ้าหน้าที่สืบสวนนานาชาติที่ร่วมคอร์สเรียนนั่นเอง
ศิษย์เก่าเอฟบีไอ รุ่นที่ 159 เมื่อปี 2532 ที่ชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร ก็เคยกินอยู่หลับนอนและเล่าเรียนหลักสูตรเอฟบีไอ ซึ่งอยู่ในรั้วเดียวกับฐานฝึกนาวิกโยธินสหรัฐมาแล้ว




สถานที่ขึ้นชื่อในการฝึกต้องยกให้ “โฮแกนส์ อัลเลย์” (Hogan’s Alley) ซึ่งจำลองรูปแบบชีวิตในเมืองไว้สมบูรณ์แบบ
มีทั้ง ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ปั๊มน้ำมัน สถานบันเทิง ฯลฯ
ซึ่งเมืองแห่งนี้จะเป็นบันไดชั้นดีเพื่อทดสอบงานปราบอาชญากรรม สืบสวน ปิดล้อม ตรวจค้น
จับกุม ของเจ้าหน้าที่เอฟบีไอหน้าใหม่ ในการแก้ไขสถานการณ์จริงที่อยู่นอกตำราเรียน
และสั่งสมประสบการณ์เบื้องต้นเอาไว้ใช้ในปฏิบัติการจริงที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ในอาชีพผู้พิทักษ์กฎหมาย
สิ่งที่เป็นประโยชน์กับนักเรียนเอฟบีไออย่างยิ่งคือ เมื่อจบแต่ละหลักสูตรแล้ว
ยังสามารถนำหน่วยกิตที่ได้จากอะคาเดมีแห่งนี้ไปเทียบหน่วยกิตกับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียได้อีกด้วย
เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว จบหลักสูตรเอฟบีไอแล้วยังเรียนได้ดีกรีเรียนมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียอีกต่างหาก
หลังจากทุกคนผ่านหลักสูตรเอฟบีไอเรียบร้อยแล้ว นักเรียนแต่ละคนก็จะได้เป็นสมาชิกสมาคมวิทยาลัยนานาชาติเอฟบีไอ
(National Academy Associates) ที่มีมวลหมู่เพื่อนพ้องมากกว่า 1.5 หมื่นคน
ในเพื่อนร่วมอาชีพพิทักษ์กฎหมายจากทั่วสหรัฐและทั่วโลก กลายเป็นเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมชั้นดี
เนื่องจากทุกคนยังคงติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่ตลอด
ยิ่งเมื่อประสานพลังกันไล่ล่าอาชญากรที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ขึ้นมาก่อกวนสังคม
ศิษย์เก่าเอฟบีไอก็ยิ่งได้ลองวิชาทักษะ และกลยุทธ์ที่คร่ำเคร่งร่ำเรียนกันมา 11 สัปดาห์
ยิ่งก้าวประชิดอาชญากรมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเก่งกล้าขึ้นทุกที


หลักสูตร FBI National Academy เป็นหลักสูตรระดับ Professional ของหน่วยงานFBI
สถานที่ฝึกอบรมตั้งอยู่ที่ เมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ใช้เวลาฝึกอบรมประมาณ 10 สัปดาห์
มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมประมาณ 250 คนต่อรุ่น โดยจัดปีละ 4 รุ่น
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมประกอบไปด้วยผู้รักษากฎหมายระดับผู้นำและผู้บริหารจากสหรัฐอเมริกา
และผู้รักษากฎหมายกว่า 150 ประเทศทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐาน พัฒนาองค์ความรู้
และสร้างความร่วมมือในการทำงานระหว่างผู้รักษากฎหมายทั่วโลก



สำหรับประเทศไทย นับได้ว่าเป็นประเทศที่ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนี้
มากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยส่งเข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ยปีละ 3 รุ่น และมีผู้สำเร็จการศึกษามากกว่า 100 นาย
ปัจจุบัน ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ มากมาย
และได้นำองค์ความรู้มาใช้ในการพัฒนาหน่วยงานได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น
จึงได้มีการรวมตัวกันเพื่อก่อตั้งเป็นสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA ขึ้นมา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างองค์การสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA
ตลอดจนองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกสมาคมนักเรียนเก่า FBI-NA ทั้งในประเทศและในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
ตลอดจนประสานงานให้เกิดผลที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และนำความสงบสุขมาสู่สังคมไทย


หยุด !!!!

นี้ คือ บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย นะ !!!!

นี้ คือ คำพูดของ ส่วนที่ตนเองได้รับความเสียหาย

ไม่ได้ตามคำขอบังคับตามคำฟ้อง

สาร์น สาร

เป็นคำพ้องเสียง มี หนึ่งพยางค์ อะ

ต่างกันตรงไหน

เสื่อม เพิง พัง ฮ้าง ต่อไป ขอรับ !!!!

หัวเราะ หัวเราะ

หัวเราะ หัวเราะ หัวเราะ หัวเราะ

ไอ้บ้าคนนึง
กลับไปข้างบน
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    sobsuan.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ทุนตำรวจ ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group




เนติบัณฑิต | อาชีวะ | ภูผาหมอกเขาค้อ | เงินกู้ | สินเชื่อ

การสร้างหน้าเอกสาร: 0.13 วินาที