ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
ประกันของกลางตาม ม.๘๕/๑ บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 31/10/2015 7:26 am ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
เรียนสอบถามผู้รู้ มีการทำสัญญาประกันของกลางตาม ม.๘๕/๑ ในชั้นพนักงานสอบสวน ต่อมาได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการแล้ว สัญญาประกันดังกล่าวสิ้นสุดหรือไม่ หรือต้องรอศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดก่อนครับ หากศาลพิพากษาให้ริบ แต่อุทธรณ์อยุ่ สัญญาจะสิ้นสุดหรือไม่ หรือยังเดิืนต่อไปจนกว่าคดีจะถึงทีสุด
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 31/10/2015 12:35 pm ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
สัญญาประกันของกลาง. ไม่ใช่สัญญาทางแพ่ง แต่เป็นสัญญานามกฎหมายมหาชนแห่ง วิอาญา
เหตุผลประการหนึ่งที่ใช้ประกอบการสั่งอนุญาตได้แก่ ไม่มีผลเสียหายระหว่างการดำเนินคดี ดังนั้น
ระหว่างการดำเนินคดี ก่อนส่งสำนวนอัยการ หากมีเหตุแทรกซ้อนทำให้อาจเกิดความเสียหายแก่นูปคดีได้. ก็สั่งถอนประกันให้คืนของกลางได้ เพราะ รัฐมีอำนาจเหนือเอกชนในทางมหาชน เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย
ถ้าไม่มีเหตุจะทำให้เสียหาย. รัฐโดย หน พงส ก็ต่ออายุสัญญาประกันของกลางไปได้เรื่อยๆ โดยมีการกำหนดให้นำของกลางมาตรวจสอบเป็นห้วงๆ เช่นเดือนละครั้ง จนกว่าจะส่งสำนวนไปอัยการ
มีข้อควรพิณาก็คือ. ถ้าของกลางนั้น ในชั้นอัยการมีการฟ้องขอให้ริบของกลางที่ประกันไปนั้นด้วย. ทางคดีควรสั่งให้คืนของกลาง คืนหลักทรัพย์ เก็บของกลางไว้เพื่อรอคำสั่งศาลต่อไป
อัยการไม่ฟ้องริบ แต่ของกลางเป็นพยานวัตถุสำคัญที่ตามกฎหมายต้องนำสืบพยานวัตถุจริงในชั้นศาล ท่านต้องตามต่อในชั้นตรวจหลักฐานว่าอัยการโจทก์กับฝ่ายจำเลยโต้แย้งหรือยอมรับในพยานวัตถุนั้นอย่างไร. เช่น รถที่ใช้ก่อเหตุเป็นของผู้อื่นที่มิใช่ผู้ต้องหา. อัยการไม่ฟ้องริบ แต่รถก็เป็นหลักฐานสำคัญ อย่างนี้ก็ต่อสัญญาประกันไปจนกว่าจะหมดความจำเป็นในการนำสืบก็สั่งคืนได้ เลิกสัญญา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 31/10/2015 2:14 pm ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
พงส เป็นผู้กำหนดการสิ้นสุดแห่งสัญญาประกันของกลาง. โดยพิจารณาจาก
1. ความจำเป็น. ในการใช้ของกลางเป็นพยานวัตถุในการนำสืบชั้นศาล
2. อัยการฟ้องริบหรือเปล่า |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สบ๔อีสาน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ


เข้าร่วมเมื่อ: 24/02/2008 ตอบ: 5073
|
ตอบ: 01/11/2015 5:54 am ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
วิ.อาญา ม.๘๕/๑ และคำสั่ง ตร.ที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัว ผตห.รวม กฎกระทรวง ที่กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ วิิธีการต่างๆ ในการ เรียกหลักประกัน เพื่อนำของกลางไปเก็บรักษาระหว่างดำเนินคดีนั้น
หลักการ...ก็คือ เจ้าของทรัพย์ สามารถวางเงินประกัน เพื่อขอรับของกลาง ไปเก็บรักษาไว้ได้ ในห้วงระยะเวลาที่ พงสฯ หรือ อก.เห็นว่า จะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการดำเนินคดี มีการฟ้องริบ หรือ ให้ตกเป็นแผ่นดิน รวมทั้ง ให้ทรัพย์นั้นใช้ไม่ได้ ต่อไปด้วยหรือไม่
๑.พงสฯ สรุปสำนวน ส่งอัยการ ก็ต้องรออัยการ ว่า จะสั่งของกลางในคดีนั้นอย่างไร
๒.ปกติ การกำหนดเรียกทรัพย์ของกลางคืนมา..พงส. เรามักลงไว้ช่วงแรกๆ แต่น้อยมาก ตรวจสำนวนพบว่า ไม่ลงวัน เดือน ปี ที่เรียกของกลางมาดู มาตรวจสอบ เป็นห้วงๆ เลย เฉกเช่นเดียวกับ นัดนายประกัน ส่งตัว ผตห.ก็ ทิ้ง ว่างๆ ลอยๆ ไว้
๓.ปัญหาสำคัญก็คือ การเรียกหลักประกันของกลางดังกล่าว...พงส. ไม่ได้กำหนดราคากลาง เช่น รถยนต์ของกลาง ควรจะต้องตีราคาโดยผู้ประกอบการค้ารถ เอาราคากลางมา ๓ ร้าน แล้วหาร ๓ จะได้ราคากลาง สุจริต เป็นธรรม แล้วเรียกหลักประกันตามนั้น หรือ อาจอะลุ้มอล่วย เรียกไม่เกิน ๓/๔ ของราคากลาง สอดคล้องกับ ขบค.ปธ.ศาลฎีกา ประกอบ คำสั่ง ตร.ที่ ๘๐/๔๘ (ปี ไม่แน่ใจ)
๔.จากราคาประกันที่เรียกไว้แล้ว...ถ้าต่อมา รถนั้นเสียหาย เรียกคืนไม่ได้ หรือ ราคาเสื่อมลงเรื่อยๆ จะ ๓-๔ ปี จากวันคืนไป ก็ต้องยึดถือเอาราคาดังกล่าว มาบังคับ หรือ อาจต้องฟ้องบังคับ ตามราคานั้น ในฐานะที่เป็น "เบี้ยปรับ" เฉกเช่นเดียวกับ การประกัน ผตห.แล้ว ส่งตัว ผตห.ไม่ได้ หรือ ส่งตัวเกินกำหนด จึงเกิดหนี้ทางแพ่งอีก ๑ ตัว คือ เป็นเบี้ยปรับ (เทียบเคียงแนวฎีกา เบี้ยปรับกรณีผิด สญ.ประกัน)
๕.ราคาประกันของกลางที่ พงสฯ หรือ อก.เรียกไว้ จึงเป็นหลักประกันในการจัดการเกี่ยวกับของกลางชิ้นนั้น...ไม่ว่า จะสั่งริบ สั่งตกเป็นของแผ่นดิน หรือ สั่งให้ใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุใด (หากศาลสั่ง) ก็ต้องถือว่า เงิน หรือ เบี้ยปรับ ตามจำนวนดังกล่าว..ต้องตกเป็นของแผ่นดิน หรือ ส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน หรือ อาจต้องคืนเงินจำนวนนี้ ให้แก่ผู้มีสิทธิ ที่อาจมีการสั่งให้ทรัพย์นั้นเป็นของใคร เช่น ไฟแนนซ์ อาจมีหักส่วนต่าง กลบเกลื่อนกันได้บ้าง
๖.ถ้าไม่มีการสั่งริบของกลางนั้น..ของกลางนั้น ก็ต้องคืนเจ้าของหรือผู้มีสิทธิ รวมทั้ง สัญญา ปก.ของกลาง ก็ย่อมสิ้นสุด นับแต่วันสั่งคืน ตาม อก.๔๖ โดยต้องคืนเงินประกันที่เรียกจากเขาไว้ โดยด่วนที่สุด
๗.การเรียกหลักประกันของกลาง ให้นำหลักเกณฑ์ในการปล่อยชั่วคราว ผตห.มาใช้บังโดยอนุโลม ในบางเรื่อง (ไม่มีตัวบทอยู่ในมือ จำ ม.ไม่ได้แล้ว)..ให้ดูว่า อนุโลมเรื่องใดได้บ้าง ก็ตีความบังคับใช้ให้เกิด ปย.สูงสุด ต่อคู่ความในคดีนั้นๆ
๘.จะสิ้นสุดเมื่อครบ ๖ เดือน หรือไม่นั้น...ความเห็นว่า ไม่น่าจะได้เพราะ ประกันของกลางออกไป ไม่มีทางที่จะฝากขัง เมื่อครบ ๖ เดือน ได้แบบ ประกัน ผตห.
...ขอคิดง่ายแค่นี้ก่อน..รอกูรู มาร่วมแจม |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 01/11/2015 10:31 am ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
มารู้จักราคากลาง
ความเดิม ท่านว่าเอาไว้ข้างบน ข้อ3 ว่า
...... "พงส. ไม่ได้กำหนดราคากลาง เช่น รถยนต์ของกลาง ควรจะต้องตีราคาโดยผู้ประกอบการค้ารถ เอาราคากลางมา ๓ ร้าน แล้วหาร ๓ จะได้ราคากลาง สุจริต เป็นธรรม แล้วเรียกหลักประกันตามนั้น หรือ อาจอะลุ้มอล่วย เรียกไม่เกิน ๓/๔ ของราคากลาง สอดคล้องกับ ขบค.ปธ.ศาลฎีกา ประกอบ คำสั่ง ตร.ที่ ๘๐/๔๘ (ปี ไม่แน่ใจ) ".......
ราคากลางตามความเข้าใจแบบนี้ ไม่ถูกต้อง
เขาใช้ราคาประเมินเพื่อให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด.
เอามาสามร้าน.
ร้านไหนให้ราคาสูงสุด. นั่นแหละคือวงเงินประกันของกลาง ไม่ใช่สามร้านหารสามนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
บุคคลทั่วไป

|
ตอบ: 01/11/2015 11:03 am ชื่อกระทู้: สัญญาประกันของกลาง สิ้นสุดเมื่อใด |
|
|
มารู้จัก โทษริบทรัพย์. ปอ 18
ความเดิมท่านว่าไว้ข้างบน แบบนี้
". ๔.จากราคาประกันที่เรียกไว้แล้ว...ถ้าต่อมา รถนั้นเสียหาย เรียกคืนไม่ได้ หรือ ราคาเสื่อมลงเรื่อยๆ จะ ๓-๔ ปี จากวันคืนไป ก็ต้องยึดถือเอาราคาดังกล่าว มาบังคับ หรือ อาจต้องฟ้องบังคับ ตามราคานั้น ในฐานะที่เป็น "เบี้ยปรับ" เฉกเช่นเดียวกับ การประกัน ผตห.แล้ว ส่งตัว ผตห.ไม่ได้ หรือ ส่งตัวเกินกำหนด จึงเกิดหนี้ทางแพ่งอีก ๑ ตัว คือ เป็นเบี้ยปรับ (เทียบเคียงแนวฎีกา เบี้ยปรับกรณีผิด สญ.ประกัน)
๕.ราคาประกันของกลางที่ พงสฯ หรือ อก.เรียกไว้ จึงเป็นหลักประกันในการจัดการเกี่ยวกับของกลางชิ้นนั้น...ไม่ว่า จะสั่งริบ สั่งตกเป็นของแผ่นดิน หรือ สั่งให้ใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุใด (หากศาลสั่ง) ก็ต้องถือว่า เงิน หรือ เบี้ยปรับ ตามจำนวนดังกล่าว..ต้องตกเป็นของแผ่นดิน หรือ ส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน หรือ อาจต้องคืนเงินจำนวนนี้ ให้แก่ผู้มีสิทธิ ที่อาจมีการสั่งให้ทรัพย์นั้นเป็นของใคร เช่น ไฟแนนซ์ อาจมีหักส่วนต่าง กลบเกลื่อนกันได้บ้าง "
ธงของกลางแบบนี้ผิดนะครับ
ที่ถูกคือ. ริบของกลางต้องเอาตัวทรัพย์มาริบตาม. ปอ 18.
แต่ถ้ามีประกันไป. นายประกันส่งคืนเพื่อริบไม่ได้. ต้องริบเงินประกันตามสัญญาหรือฟ้องแพ่งให้ใช้หนี้เงินตามวงเงินประกัน
ริบเงินประกันเพราะผิดสัญญาประกันนะ
ส่วนตัวทรัพย์ ตำรวจต้องติดตามเอาคืนแผ่นดินตามที่ศาลสั่งริบให้ได้. โดยมีคำขอผ่านอัยการให้ศาลใช้อำนาจศาลตาม. ปอ 37
หรือหาก นายประกันทุจริตยักย้ายของกลาง
เพราะเขารัก เขาหวง เขาอยากได้ไว้ต่อไป. โดยยอมถูกริบเงินประกัน
ก็ต้องสั่งให้เขาส่งคืนทรัพย์แผ่นดินที่ศาลริบแล้ว ถ้าขัดขืนก็พิณาดำเนินคดีไปตาม. ปอ 142 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|