ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
pct55555 สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2009 ตอบ: 78
|
ตอบ: 21/06/2013 11:41 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
พรบ.จราจรทางบก 2522
1.ตำรวจอื่นที่ไม่ใช่ จพง.ตามพรบ.สามารถจับ ผู้ทำผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ได้หรือไม่
2.หาก จพง.ตามพรบ.ไม่ออกใบสั่ง แต่ทำเป็นบันทึกจับกุมได้หรือไม่
3.หากเป็นการจับเด็กเกิน 10-15 ปี จะต้องทำคดีอย่างไร
ขอหลักกฎหมายอ้างอิงด้วย ขอบคุณครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
จอมโจรจอมใจ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 29/09/2012 ตอบ: 1367
|
ตอบ: 22/06/2013 12:08 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
..........555....5555.... |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Kaelada สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 11/12/2012 ตอบ: 43
|
ตอบ: 22/06/2013 12:56 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
555555๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เดาตามกฎหมาย กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2011 ตอบ: 516
|
ตอบ: 22/06/2013 9:47 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
คนถามคงไม่ใช่พนักงานสอบสวน หากใช่ต้องไปเรียนใหม่
ตอบ. 1 ผู้ใหญ่บ้านที่ปฏิบัติหน้าที่ ก็จับได้ แต่จับในหมู่บ้านของตนเอง ใน ป.วิ.อาญา 2(16) ,80
2 ผู้ใหญ่บ้าน พบเห็นคนขับขี่รถ จยย. มาไม่มีใบอนุญาตขังขี่ ใบสั่งก็ไม่มี ก็จับส่งพนักงานสอบสวน ได้ครับ ป.วิ.อาญา 80
3. เกิน 10-15 ปี จับได้ครับ แต่จับแล้วก็ต้องสอบสวน อันนี้ปรับได้หรือไม่ได้ขอสงวนไม่ขอตอบแถวเถียงกัน 55555 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
pct55555 สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2009 ตอบ: 78
|
ตอบ: 22/06/2013 8:00 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
ไม่ไดเป็นพงส.ครับ เป็นจร.แต่พงส.เป็นคนบอกว่า จร.จับไม่ได้ พรบ.ให้ออกใบสั่ง เป็นความผิดลหุโทษ ไม่มีอำนาจควบคุม หากบันทึกจับกุม ถือเป็นการควบคุม ผิด 157 ก็เลยขอความรู้ว่าเป็นอย่างที่อ้างหรือไม่ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
pct55555 สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 17/11/2009 ตอบ: 78
|
ตอบ: 22/06/2013 8:01 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
ไม่ไดเป็นพงส.ครับ เป็นจร.แต่พงส.เป็นคนบอกว่า จร.จับไม่ได้ พรบ.ให้ออกใบสั่ง เป็นความผิดลหุโทษ ไม่มีอำนาจควบคุม หากบันทึกจับกุม ถือเป็นการควบคุม ผิด 157 ก็เลยขอความรู้ว่าเป็นอย่างที่อ้างหรือไม่
ปรับก็ไม่ได้ ตรวจสอบการจับก็ไม่ได้ หากตรวจสอบการจับ และศาลสั่งว่าจับไม่ชอบ ผิด 157 ก็เลยสงสัยว่า เด็กที่ขับรถซิ่ง อายุ10-15 ปี คนจับต้องปล่อย หรือ ส่งดำเนินคดีอย่างไร ครับ เพิ่มเติม พงส.บอกว่าในบันทึกจับกุม ก็ห้ามถามคำให้การเด็กว่ารับสารภาพหรือปฏิเสธ หากถามเป็นการจับที่ไม่ชอบ กฎหมาบให้ถามต่อหน้าผู้ปกครองเด็ก |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เดาตามกฎหมาย กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2011 ตอบ: 516
|
ตอบ: 22/06/2013 9:35 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
คุณ จราจร ความผิดลหุโทษ ก็จับกุมได้ และรีบนำส่ง พงส. การควบคุมก็ควบคุมได้ เท่าที่จะถามคำให้การ เมื่อถามปากคำเสร็จก็ต้องปล่อย ส่วนการจับกุมตัวเด็ก 10-15ปี เราเป็นจราจร ก็จับได้แต่ต้องเป็นความผิดซึ่งหน้า เช่นเราตั้งด่านตรวจ เด็กอายุ 11 ปี ขับรถผ่านมา ไม่มีใบอนุญาต ก็จับกุมได้ และรีบนำตัวส่ง พงส. การจะตรวจสอบการจับหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าของเราจบลง เมื่อนำตัวส่งพนักงานสอบสวน การจับกุมเด็กอย่าไปใส่กุญแจมือนะครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 22/06/2013 9:57 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
แล้วจากที่ท่าน พงส์๒๕๕๓ แย้งความเห็นท่านเดาตามกฎหมาย พร้อมเอาหลักฐานมาแสดง ท่านเดาตามกฎหมายจะแย้งหรือเห็นด้วยกับหลักการและเอกสาร ในเรื่องการเปรียบเทียบปรับเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ในบทที่ ๔ หน้า ๑๘-๑๙ ว่าอย่างไรครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เดาตามกฎหมาย กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2011 ตอบ: 516
|
ตอบ: 22/06/2013 10:58 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
ที่ผมแย้ง ประเด็นมีอยู่ว่า การเปรียบเทียบปรับถือว่าเป็นโทษตาม ป.อาญา ม.18 หรือไม่ ผมยังยืนยันตลอด การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่โทษ โทษมีองค์กรเดียวที่สั่งลงโทษ คือศาล และต้องทำเป็นคำพิพากษา ผมก็เห็นตามคำสอนของอาจารย์จิตติ ติงศภัทรย์ แล้วคณะนิติศาสตร์ รามคำแหง ก็เอามาสอนผม แต่เสียดายท่านอาจารย์ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว หากท่านยังอยู่ ผมจะบุกไปหาท่านถึงที่บ้าน ใครจะเห็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ผมเห็นอย่างนี้ ก็เคยโต้เถียงกับอัยการ บางท่านก็บอกว่าเหตุผมของผมถูกต้องตามหลักของกฎหมายอาญา บางท่านก็เห็นตาม ท่านพงส์ 2553 เอาเป็นว่าใครชอบอันไหนลองดู เอาแบบท่านพงส์เหมือนดูหนังชีวิต เอาแบบผมเหมือนดูหนังม้วนเดียวจบ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 23/06/2013 1:16 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
แล้วประเด็นเรื่องวิธีการเปรียบเทียบปรับละครับ หากกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จะเปรียบเทียบทุกบท หรือบทหนักสุดบทเดียว และหากเปรียบเทียบบทหนักบทเดียวนำบทกฎหมายใดมาใช้ครับ ถ้าอธิบายตรงข้อโต้แย้งตรงนี้ได้ มันก็คงจะกระจ่างกันละครับ เพราะประเด็นนี้ผมเห็น ยังไม่มีใครโต้แย้งได้สักคน
ต้องอย่าลืมว่าความเห็นของอาจารย์จิตติฯ เองก็แย้งคำความเห็นของฎีกาอยู่บ้างเหมือนกันก็มี หรือมองในอีกมุมหนึ่งคือ ฎีกา ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์จิตติฯ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
เดาตามกฎหมาย กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/03/2011 ตอบ: 516
|
ตอบ: 23/06/2013 8:19 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
การเปรียบเทียบปรับแม้ไม่ใช่โทษ ก็นำตรรกะหลักการและเหตุลของเรื่องโทษมาใช้ เสมือนโทษ เป็นบิดา การเปรียบเทียบเป็นบุตร ก็ต้องนำหลักมาตรา 90 ป.อาญามาใช้ เพราะว่าการเปรียบปรับก็เสมือนโทษ ฉะนั้นหากความผิดท่จะเปรียบเทียบมีบทความผิดอยู่กรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทก็ต้องเปรียบเทียบปรับในบทหนัก เช่นเดียวกัน |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส์๒๕๕๓ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/12/2010 ตอบ: 1514
|
ตอบ: 23/06/2013 11:23 am ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
ข้อกฎหมายเรื่องหลักนิติธรรม ตาม รธน อันเป็นกฎหมายสูงสุด ประกอบ มาตรา 39 คนทำผิดต้องถูกลงโทษด้วยกฎหมายของรัฐ กฎหมายของรัฐอยู่ใต้ รธน /
ป อาญา เป็น กม. ฉบับหนึ่งในหลายฉบับที่พูดถึงการลงโทษ /โทษไม่จำต้องมีแต่เฉพาะใน กม ป อาญา / ผมพูดอย่างนี้ ใครว่าผมพูดผิดบ้าง (ตำรา ดร หยุด กม ลักษณะอาญา รศ 127 มีวางทุกห้องสมุด นิติ ทุก ม) มันเป็นคำตอบสุดท้ายที่นักกฎหมายทุกฝ่ายยอมรับได้ว่า การเปรียบเทียบก็คือการลงโทษ ไม่ใช่แค่เสมือนการลงโทษเท่านั้น
กฎหมายอาญา เป็นกม ทางมหาชน มีหลักการต่างจาก กม เอกชน/ เรื่องโทษ/ ต้องฟันธงทางใดทางหนึ่ง ไม่มีเปรียบเปรยเพื่อให้ผลร้ายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย. /การเปรียบเทียบคือโทษ ก็ต้องเป็นโทษ. ถ้าไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ จะบอกว่าเปรียบเสมือนไม่ได้
อาญา /ทำให้คนตาย ถ้าฆ่าต้องเจตนา /ผิด 80 288. / ถ้าไม่เจตนา ก็ 290 / ประมาท ก็ 300. ปรับตรง ๆ ไม่มีตีความว่าเสมือนฆ่า เสมือนประมาท เสมือนทำให้ตายโดยไม่เจตนา
ส่วน ป แพ่ง เป็น กม เอกชน / ม 1627 บุตรนอกกฎหมายที่พ่อรับรอง บุตรบุญธรรม ถือว่าเป็น ผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบกฎหมาย
ม 1630 วรรคท้าย บิดา มารดา ของเจ้ามรดก " ได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร"
ท่านเดา เอา หลักแพ่ง มาใช้กับอาญา ได้รึ
เดาตามกฎหมาย บันทึก: | ที่ผมแย้ง ประเด็นมีอยู่ว่า การเปรียบเทียบปรับถือว่าเป็นโทษตาม ป.อาญา ม.18 หรือไม่ ผมยังยืนยันตลอด การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่โทษ โทษมีองค์กรเดียวที่สั่งลงโทษ คือศาล และต้องทำเป็นคำพิพากษา........ |
เดาตามกฎหมาย บันทึก: | การเปรียบเทียบปรับแม้ไม่ใช่โทษ ก็นำตรรกะหลักการและเหตุลของเรื่องโทษมาใช้ เสมือนโทษ เป็นบิดา การเปรียบเทียบเป็นบุตร ก็ต้องนำหลักมาตรา 90 ป.อาญามาใช้ เพราะว่าการเปรียบปรับก็เสมือนโทษ ฉะนั้นหากความผิดท่จะเปรียบเทียบมีบทความผิดอยู่กรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทก็ต้องเปรียบเทียบปรับในบทหนัก เช่นเดียวกัน |
อำนาจศาลทำคำพิพากษาปรับ เอาเงินคนผิดเข้าหลวง. นี่เป็นอำนาจตุลาการ ในการลงโทษคนผิด หนึ่งในอำนาจอธิปไตยสามฝ่าย.
อำนาจ พงส ทำการเปรียบเทียบ โดยวิธีการ ตามวิอ 38 ให้มีอำนาจดังนี้....... นี่คือการลงโทษให้ชำระค่าปรับ เอาเงินคนทำผิดเข้าหลวง ในอำนาจฝ่ายบริหาร ก็หนึ่งในอำนาจอธิปไตยเหมือนกัน
อำนาจของศาล พงส ย่อมเอามาใช้ไม่ได้ /ขณะเดียวกัน อำนาจฝ่ายบริหารของ พงส ศาลก็เอาใช้ไม่ได้. /อำนาจใครอำนาจมัน
ผมเอาพรบ โปรีสภาของเก่ามาให้ดูแล้ว ถ้าท่านดูจริงตามที่ผมชี้ไปที่ข้อ 7 จะพบว่า อำนาจเปรียบเทียบลงโทษคนผิด เดิมก็เป็นอำนาจศาล.ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ราชาธิปไตย ที่อำนาจนิติ บริหาร ตุลาการ สามฝ่ายอยู่กับพระราชา/ แต่เขามาเปลี่ยนให้เป็นอำนาจของ พงส แทน ตามวิอาญาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามฝ่ายตาม รธน ฉบับแรก เปลี่ยนวิธีทำในต้นธารยุติธรรมชั้นต้น เลิกระบบไต่สวน และการเปรียบเทียบของศาลในระบบเก่า. มาเป็นการสอบสวนและการเปรียบเทียบลงโทษคนผิดโดยการสอบสวนของ พงสฯในนามของอำนาจฝ่ายบริหารตามระบอบใหม่/ เหตุผลนี้คือที่มาอย่างหนึ่งของคำตอบว่า การเปรียบเทียบเป็นการลงโทษ
ในอำนาจตุลาการ กติกาของศาลคือ กรรมเดียว ผิดหลายบท ลงโทษบทหนักบทเดียวตามแบบคำพิพากษาของศาล ท่านเอาอย่างมาใช้เปรียบเทียบเด็กในอำนาจ พงส ได้ด้วยตามแนวคิดของท่านนะ กล่าวคือถ้าเด็ก14 ทำผิดกรรมเดียวหลายบท ท่านก็จะเปรียบเทียบเด็กบทเดียวได้ นี่คือแนวทางของท่านนะ/
ผมให้ท่านตรองดู ปอ 74 เด็กทำผิด แม้รับสารภาพ ศาลยังลงโทษเด็กโดยทำเป็นคำพิพากษาไม่ได้เลย. / แล้ว ท่านเป็นแค่ พงส ทำไมถึงเปรียบเทียบเด็ก 14 ไม่สวมหมวกกันน๊อคได้ มันประหลาดนะ. ตรงนี้ทำไมท่านไม่เอาอย่างศาลบ้างล่ะคือเปรียบเทียบปรับเอาเงินเด็กไม่ได้อย่างศาล เพราะการเปรียบเทียบเป็นเสมือนโทษ จึงลงโทษเด็กไม่ได้เช่นเดียวกับศาล
ที่กรรมเดียวผิดหลายบท ท่านยังเอาอย่างเสมือนโทษในอำนาจศาลมาใช้เลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
คนเมืองป่า กูรู


เข้าร่วมเมื่อ: 21/06/2012 ตอบ: 926
|
ตอบ: 23/06/2013 7:05 pm ชื่อกระทู้: สอบถามท่าน ผู้รู้ |
|
|
เรียนท่านเดาตามกฎหมาย หากท่านนำตรรกะหลักการและเหตุลของเรื่องโทษมาใช้ ต้องเป็นการบังคับใช้ได้ด้วยนะครับ และต้องบังคับใช้ได้โดยไม่มีข้อยกเว้นไม่ให้ใช้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า คดีนี้บังคับใช้ อีกคดีหนึ่งไม่บังคับใช้ อย่างนี้ย่อมไม่ถูกต้อง ทีนี้มาลองพิจารณากรณีตรรกะที่ผู้ต้องหารับสารภาพแล้วต้องลดโทษอย่างไร ซึ่งมันไม่อาจนำตรรกะเรื่องการลงโทษมาใช้ได้เลย เพราะ ในตัวบทยังพบถ้อยคำว่า เสียค่าปรับอย่างสูง แม้จะรับสารภาพ ก็ไม่ยอมลดโทษ ทำไมเหตุกรณีนี้ไม่นำตรรกะเรื่องการลงโทษมาใช้ละครับ และคดีลหุโทษคดีอื่น แม้จะรับสารภาพ ยังเปรียบเทียบปรับเต็มตามอัตราโทษปรับยังทำได้ เหตุใดจึงไม่ถือว่าขัดต่อหลักตรรกะการลงโทษที่ต้องบังคับใช้ทุกคดีและไม่ตีความว่าไม่สามารถบังคับใช้ได้บ้างละครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|