ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป |
ผู้ส่ง |
ข้อความ |
UD.NEW สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 29/05/2011 ตอบ: 31
|
ตอบ: 29/03/2013 12:13 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
เรื่องมีอยู่ว่า ผู้เสียหายได้มาแจ้งให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ในข้อหา ทำให้เสียทรัพย์ (ทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณะ ที่เป็นของผู้เสียหาย)ที่ครอบครองตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ต่อมาผู้ต้องหาได้ซื้อที่ดินแปลงข้างเคียงแล้วถือวิสาสะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหาย โดยไม่มีการบอกกล่าว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบแล้ว ต่อมาได้พาผู้เสียหายไปทำการตรวจที่เกิดเหตุ (ในเวลากลางวัน)ถ่ายภาพ ตามระเบียบ ในที่ดินแปลงพิพาท ต่อมาผู้ต้องหาทราบเรื่ิองจึงได้มาแจ้งความกลับ(แสบมาก)ในข้อหาบุกรุกฯ โดยรู้ดีว่าเป็นคู่กรณีในคดีปัจจุบันและเป็นพงส.ในคดีนี้ ก็ยังยืนยันที่จะดำเนิน ขอเรียนถามว่า แนวทางในคดีนี้เป็นอย่างไรและจะฟ้องกลับผู้ต้องหาตัวแสบได้อย่างไร?
ลิงก์ผู้สนับสนุน Sponsored Links
|
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สากกะเบือ3 ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 25/09/2009 ตอบ: 1843
|
ตอบ: 29/03/2013 12:33 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ไม่เห็นจะยากเลย ผู้เสียหายพา พงส.ไปดูที่เกิดเหตุ เป็นการไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีเจตนาบุกรุก ....หากยืนยันจะเอาเรื่องก็รับคดีแล้วก็สั่งไม่ฟ้องโดยไม่ต้องแจ้งข้อหา....ม.362 "ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อ ยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ เข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข" ....ท่านดูแล้วเข้าองค์ประกอบความผิดหรือเปล่าล่ะ? |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
สบ3อาชีพ แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 28/03/2011 ตอบ: 226
|
ตอบ: 29/03/2013 1:02 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ถูกต้อง ถ้าเขายืนยันแจ้ง สอบปากคำ รวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ต้องเรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้งข้อหา.. แล้วสั่งไม่ฟ้องไปเลย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
UD.NEW สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 29/05/2011 ตอบ: 31
|
ตอบ: 29/03/2013 1:33 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ขอบคุณครับสำหรับความเห็น สำหรับในคดีไม่กังวลเท่าไหร่ อยากทราบว่าจะเล่นงานผู้ต้องหาตัวแสบได้อย่างไร วิธีการใด เราเอาผลอัยการสั่ง ไม่ฟ้อง ดำเนินคดีแจ้งความเท็จฯ โดยมีเจตนาให้รับโทษอาญาได้หรือไม่ ป.อ.172,174 เพราะมันรู้หนิ!ก็ยังประสงค์..ทั้งที่ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน คดีนี้ถือว่าเป็นดารทำลายขวัญกำลังใจของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าโดยชอบด้วยกฎหมาย |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ชมรม-ระฆัง ทีมงานผู้ดูแลเว็บ


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2007 ตอบ: 586
|
ตอบ: 29/03/2013 1:41 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
.
... เร่งรัดอัยการให้รีบสั่งไม่ฟ้อง จากนั้นเรียกผู้ต้องหา(ผู้เสียหายเดิม) มาร้องทุกข์ แจ้งความเท็จ
ผู้ต้องหาที่เป็น พงส. มีสิทธิ์ร้องทุกข์ แต่ไม่ควรร้อง สังคมจะมองภาพไม่ดี
เหตุที่ให้รอคำสั่งไม่ฟ้องจากอัยการก่อน เพื่อความชัวครับ เมื่อรับคดีแล้วสั่งฟ้องสถานเดียว
. |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
PD แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 23/08/2007 ตอบ: 340
|
ตอบ: 29/03/2013 7:50 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ข้อต่อสู้ตามกฎหมายของพนักงานสอบสวน
ควรไล่เรียงตามประเด็นในการวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาครับ
1 ขาดองค์ประกอบภายนอก มาตรา 362 คือ ไม่ได้เข้าไปรบกวนครอบครองโดยปกติสุข และ มาตรา 364 เข้าไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่การเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรครับ
2 ขาดองค์ประกอบภายใน คือขาดเจตนาที่จะบุกรุกฯ
3 มีกฎหมายยกเว้นความผิด คือ ป.วิ.อาญา ให้ พงส.มีอำนาจเข้าไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ และรวบรวมพยานหลักฐานครับ
ตัว ผู้เสียหายที่ไปด้วย ก็มีข้อต่อสู้คล้ายกันครับ
หลักในการต่อสู้คดี คือ สู้ทุกประเด็นที่จะทำให้ชนะคดี หรือเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี
ข้อยกเว้นของหลัก คือ ไม่สู้ในประเด็นที่ขัดแย้งกันเอง (ไม่วางข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย ให้ขัดแย้งกับข้อต่อสู้หลัก เช่น พวกที่สู้ว่า ไม่ได้ทำผิด ถึงทำ ก็ทำเพราะบันดาลโทสะ อะไรทำนองนี้ครับ)
ส่วนจะผัดเผ็ด ผู้ต้องหาที่มาแจ้งความ ลองพิจารณาดู คำแจ้งความครับ ว่าระบุรายละเอียด แค่ไหนเพียงใด
ถ้าคำแจ้งความ ไม่ยอมระบุว่า เป็นพนักงานสอบสวน เข้าไปที่เกิดเหตุ เพื่อปฏิบัติตามหน้าที่
พงส. ก็อาจแจ้งความกลับ ว่าเป็นการแจ้งความอาญาเท็จ (รู้ว่าไม่มีความผิดอาญาเกิด แจ้งว่ามีความผิดเกิด) เพื่อจะแกล้งให้ได้รับโทษครับ
หลักในเรื่องแจ้งความเท็จกรณีนี้ คือ การแจ้งข้อเท็จจริง ไม่ครบถ้วน ทั้งที่รู้ผู้ต้องหารู้ข้อเท็จจริงดีอยู่แล้ว ว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของ พงส. หากแจ้งครบถ้วน จะทำให้ผู้รับแจ้งความ ทราบได้ว่า การกระทำนั้น ไม่เป็นความผิดอาญา อย่างนี้ ก็แจ้งเท็จประเภทหนึ่งเหมือนกันครับ
ส่วนผู้ต้องหาที่แจ้ง จะมีข้อแก้ตัวอย่างไร ก็ให้แก แก้ตัวไปครับ กว่าจะแก้เสร็จ ท่าจะอ่วม และถ้าแก้พลาด น่าจะ หลังอาน ครับ
พิจารณาฎีกานี้เทียบเคียงดูครับ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 400/2508 (อัยการนิเทศ พ.ศ.2508 น 445) การที่จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไปแจ้งความว่า โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง แต่ไม่ได้แจ้งด้วยว่าโจทก์ได้โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยตนเอง เป็นภาษาไทย ในกิจการของเทศบาล ซึ่งตามกฎหมายไม่ต้องได้รับอนุญาต ทั้งๆ ที่จำเลยรู้อยู่แล้ว ถือได้ว่าคดีมีมูล ควรได้ฟังข้อแก้ตัวของจำเลย ว่าเหตุใดตนจึงไม่ควรได้รับโทษฐานแจ้งความเท็จ (จงใจแจ้งข้อเท็จจริง "บางส่วน" ทำให้เห็นว่ามีการกระทำผิด ผู้แจ้งเท็จมีความผิด) (คดีนี้เป็นประเด็นชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 173 ซึ่งศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าพนักงานอัยการมีอำนาจรับแก้ต่างคดีให้ได้ และให้ศาลชั้นต้นประทับรับฟ้อง)
สาระสำคัญฎีกานี้ คือ การจงใจแจ้งข้อเท็จจริงแค่บางส่วน ซึ่งถ้าหากแจ้งครบถ้วน จะทำให้เห็นว่าการกระทำนั้น ไม่เป็นความผิด อย่างนี้ ถือว่า แจ้งเท็จเหมือนกันครับ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
UD.NEW สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 29/05/2011 ตอบ: 31
|
ตอบ: 29/03/2013 10:47 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ขอบคุณพี่PD น่าจะเป็นแนวทางให้ผมได้ คดีนี้ถือเป็นอุทธาหรณ์ของพี่น้องพงส.ทุกท่าน น่าจะสู้กันถึง3ศาล กับประชาชนคนหนึ่งซึ่งเขาเลือกคู่ชกผิด แค่เข้าเวรแต่ละวันทำเพืี่อประชาชนก็จะไม่รอดอยู่แล้ว พี่ๆท่านใดมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ขอน้อมรับนะครับ คดีนี้คงไม่เรียกว่าขอความยุติธรรม แต่จะไม่ขอรับใช้ประชาชน(คนนี้) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พงส.shadow ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 26/12/2012 ตอบ: 1060
|
ตอบ: 30/03/2013 7:58 am ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ฟังข้อเท็จจริงดูเหมือน ทำให้เสียทรัพย์เกิดในที่สาธารณะ ส่วนผู้ถูกกล่าวหานั้นแจ้งเอาเรื่องบุกรุก การจะเป็นบุกรุกสำหรับกรณีก็น่าจะได้เพียง ป.อ.มาตรา 364 เช่นเป็นเคหสถาน มาตรา 1(4) หรือไม่ เพราะเท่าที่ฟังมาน่าจะเกี่ยวกับประเด็นนี้มากที่สุด ตีความบริเวณเคหสถาน เรื่องเหล่านี้ ต้องพึงระวัง เพราะ พงส.ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมายเช่นกัน ส่วนในเรื่อง มาตรา 362 เป็นเรื่องของเอกชนกับเอกชนว่าใครมีสิทธิใช้ที่สาธารณะดีกว่ากัน แต่จะใช้มายันรัฐกรณีนี้ไม่ได้ เมื่อเป็นสาธารณะแล้วทุกคนก็มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ หากเป็นไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นเรื่องรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งความแก่ พงส.หรือ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ป.อ.มาตรา 173 แต่ก็ไม่พ้นผิด มาตรา 137,172 ด้วย และสุดท้ายมีเจตนาพิเศษเพื่อจะแกล้ง...ก็ผิดมาตรา 174 ซึ่งอาจเชื่อมโยงไปถึงมาตรา 181 ได้หากโทษถึงเช่นนั้น ส่วนกรณีเห็นด้วยกับท่านสากกะเบือ 3 ซึ่งเป็นกรณีของศาลฟังข้อเท็จจริงแล้ว พงส.กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ โดยสุจริต ไม่พบก่อความเสียหายรุนแรงต่อประชาชนหรือสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของประชาชน มีแนวโน้มจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อ รอลงอาญา แต่ถึงขั้นนี้ ก็เฉพาะกรณีต้องเป็นความผิดแล้ว ครับ... |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
Gikcao สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 24/05/2010 ตอบ: 85
|
ตอบ: 30/03/2013 6:06 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ขอให้ข้อแนะนำดังนี้ครับ
ป.วิอาญามาตรา 131 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างๆอันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิของผู้ต้องหา
ม.132 เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหาหรือ ตรวจสิ่งของ หรือ ที่ทาง อันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาดจำลอง หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า กับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
ตามคำถามหากท่านได้นำผู้เสียหายเข้าไปในที่เกิดเหตุเพื่อจุดประสงค์ตาม ป.วิอาญา ม.131 , 132 ดังกล่าวข้างต้นถือเป็นการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนและไม่มีความผิดตามกฎหมายสามารถนำมากล่าวอ้างชี้แจงให้ผู้ต้องหาให้เข้าใจและรับทราบได้ หากยังไม่เข้าใจและยืนยันว่าจะแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับท่านและผู้เสียหายก็ให้ลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานให้ชัดเจนว่าได้มีการแจ้งให้ผู้ต้องหาได้ทราบแล้วถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนตาม ป.วิอาญาดังกล่าวข้างต้น แต่ผู้ต้องหายังยืนยันจะให้พนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ ก็ดำเนินการไปตาม ป.วิอาญา โดยอ้างเหตุที่ทำให้การกระทำของท่านไม่เป็นความผิดตาม ป.วิอาญา มาตรา 131 และ 132 ดังกล่าว โดยไม่ต้องไปพิจารณาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณะหรือไม่หรือผู้ร้องทุกข์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวกล่าวจะใช้ในการกล่าวอ้างเมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นแล้ว แต่เมื่อการกระทำของท่านเป็นการปฎิบัติตามหน้าที่ที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ย่อมไม่เป็นความผิด
การแจ้งความคือการแจ้งข้อเท็จจริงซึ่งหากเขาแจ้งข้อเท็จจริงว่าท่านและผู้เสียหายเข้าไปในที่ดินที่เขาอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อท่านรับคำร้องทุกข์ไว้โดยไม่ลงประจำวันให้ชัดแจ้งว่าท่านได้อธิบายให้เขาทราบข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นให้เขาทราบแล้วก็ไม่อาจดำเนินคดีกับเขาได้ในข้อกล่าวหาว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานหรือแจ้งความอาญาอันเป็นเท็จฯ เพราะการแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นการแจ้งข้อเท็จจริงต่อเจ้าพนักงานไม่ใช่เป็นการแจ้งข้อกฎหมาย แต่เมื่อลงประจำวันชัดแจ้งว่าได้แจ้งให้ผู้แจ้งเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วและได้แจ้งให้ทราบว่าหากยังคงยืนยันว่าจะร้องทุกข์ในเหตุดังกล่าวจะมีความผิดตามกฎหมายในเรื่องของการแจ้งความเท็จและแจ้งความอาญาอันเป็นเท็จฯ แต่ผู้แจ้งยังคงยืนยันว่าจะแจ้งความร้องทุกข์ต่อท่านและผู้เสียหายต่อไปก็เข้าทางครับ เพราะจากการแจ้งข้อเท็จจริงก็จะเปลี่ยนเป็นการแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามข้อกฎหมายที่ได้อธิบายให้ทราบแล้ว ก็จะเป็นเรื่องของการแจ้งความเท็จที่เราจะดำเนินการโต้กลับต่อไป ที่สำคัญลงประจำวันให้ชัดเจนว่าได้มีการแจ้งข้อกฎหมายและความผิดที่ผู้แจ้งจะได้รับหากยังยืนยันว่าจะแจ้งความร้องทุกข์ในเหตุดังกล่าวอยู่อีก ถ้าเขายังกล้าแจ้งถือว่าเขาแน่มาก คนอย่างนี้ผมอยากเจอทุกวันครับจะได้สั่งสอนเสียให้เข็ด
(เพิ่มเติมความเห็นของคุณ PD ซึ่งกล่าวไว้ดีแล้ว) |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
UD.NEW สมาชิกใหม่

เข้าร่วมเมื่อ: 29/05/2011 ตอบ: 31
|
ตอบ: 30/03/2013 10:18 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ขอขอบคุณท่าน Gikcao อีกหนึ่งข้อกฎหมายที่เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไปได้ดีมากเลยครับ ขอคาราวะ!และอาจเป็นวิทยาทานกับพงส.ท่านอื่นๆได้ |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
ภูปอ แฟนคลับ


เข้าร่วมเมื่อ: 26/07/2010 ตอบ: 220
|
ตอบ: 04/04/2013 10:34 am ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
ผู้ต้องหาประเภทรู้ไม่จริงเช่นนี้มีมากในเมืองไทย ยังไงก็แจ้งดำเนินคดีแก้เกี้ยวไว้ก่อนผิดถูกไม่รู้ คนอย่างนี้ต้องดำเนินคดีเสียให้รู้แจ้งเห็นจริง ว่าสิ่งที่กระทำนั้นไม่ใช่เรื่องต้องการเพียงแต่จะเอาชนะกัน ผลตามมาไม่ธรรมดา |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
พนักงานสอบสวนเก๋าพอ ผู้ชำนาญการ


เข้าร่วมเมื่อ: 09/03/2011 ตอบ: 1797
|
ตอบ: 04/04/2013 4:41 pm ชื่อกระทู้: เรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีกับผู้เสียห |
|
|
จัดไป จัดหนัก จัดเต็ม
 |
|
กลับไปข้างบน |
|
 |
|
|
|